แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อยๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณหนึ่งๆ อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์นอกจากนี้ เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูง เป็นต้น หรือของบริเวณอื่นๆ อาทิ สมองของมนุษย์ ได้อีกด้วย

องค์ประกอบของแผนที่

งค์ประกอบของแผนที่ โดยส่วนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ภูมิประเทศใน

รูปแบบต่างๆ อย่างภูเขา ป่าไม้ ทะเล เเม่น้ำลำธาร และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองต่างๆ เส้นทางคมนาคม พื้นที่ทำการเกษตร โดยจะเเบ่งออกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ชื่อประเภทของแผนที่

เป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่ใช้กับเรื่องอะไร เเสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อเเผนที่จะมีคำอธิบายกำกับไว้ด้วย เช่น เเผนที่ประเทศไทยเเสดงส่วนระดับความสูงของพื้นที่ภูมิประเทศ แผนที่โลกเเสดงเส้นทางการเดินเรือโดยสารและพาณิชย์ เป็นต้น

2. ทิศทาง

เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้เลยในการองค์ประกอบของแผนที่ทุกชนิด เพราะมีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานที

ใดๆ โดยจะกำกับด้วยทิศทั้งสี่ทิศ ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก และจากการอ้างอิงจากเข็มทิศ ซึ่งจะชี้ไปยังทิศเหนือตลอดเวลา ให้เเผนที่จะเเสดงทิศเหนือไว้ด้านบนของแผนที่เสมอ จะช่วยให้ง่ายต่อการค้นหาทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้องในแผนที่ได้

3. ขอบระวาง

แผนที่ทุกชนิดจำเป็นต้องมีขอบระวาง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่เเสดงบนเเผนที่นั้นๆ ซึ่งจะบอกด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำเเหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียน เพื่อเเสดง ลองติจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆบนแผนที่ผิวโลก รวมไปถึง สีในแผนที่ ที่จะบอกคุณลักษณ์ต่างๆของภูมิประเทศในส่วนนั้นด้วย

4. สัญลักษณ์

เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่าน แปล และเข้าใจความหมายจากแผนที่

ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้แผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

5. มาตราส่วน

คือย่อส่วนลงมาจากระยะทางจริงในภูมิประเทศ ตามมาตราส่วน ซึ่งจะเเสดงมาตราส่วนว่าย่อลงมาเท่าใด มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิก มาตราส่วนของแผนที่คือ อัตราส่วนของระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบบนภูมิประเทศจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเขียนได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น 1×70,000 หรือ 1/70,000 หรือ 1:70,000 การคำนวณนั้นก็ทำได้ง่ายดังนี้ : มาตราส่วน = ระยะบนแผนที่ x ระยะภูมิประเทศ

6. เส้นโครงบนแผนที่

ประกอบด้วย เส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่จะกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์อย่างเป็นสากลเเละมาตรฐาน ไว้ใช้เพื่ออ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย

- เส้นขนาน (ละติจูด) เป็นเส้นสมมติ ที่ลากจากทิศตะวันออก โดยจะวัดจากมุมที่เริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะมีค่ามุม 0 องศาไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องศา ซึ่งเส้นขนานที่สำคัญ 5 เส้น หลักๆมีดังนี้

- เส้นศูนย์สูตร หรือ เส้นอิควอเตอร์ ค่ามุม 0 องศา

- เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ

- เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น ค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้

- เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลเหนือ ค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนื

- เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลใต้ ค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้

- เส้นเมริเดียน (ลองติจูด) เป็นเส้นสมมติ ที่ลากจากขั้วโลกเหรือไปยังขั้วโลกใต้ ลักษณะเป็นเส้นตรง โดยจะลากผ่านทิศตะวันออกไปยังทิศตกวันตก ด้านละ 180 องศา ซึ่งหน้าที่สำคัญของเส้นเมริเดียนนั้น จะใช้เป็นตัวแบ่งเวลาของแต่ประเทศทั่วทั้งโลก และใช้บอกพิกัดตำแหน่งที่ตั้งต่างๆบนพื้นผิวโลกโลก โดยจะทำงานร่วมกันกับเส้นขนาน (ละติจูด) ที่ตัดกัน

7. พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่จะบอกตำแหน่งของที่ตั้งหรือสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงบนแผนที่ 2 เส้น ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ตัดกันเป็นจุดต่างๆ โดยจะอ่านค่าจาก เส้นละติจูด (เส้นขนาน และเส้นลองติจูด (เส้นเมริเดียน) ซึ่ง ละติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นขนาน และลองติจูด ก็คือพิกัดจุดหนึ่งบนเส้นเมริเดียน

ที่มา https://www.cartrack.co.th/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88

ใบความรู้ เรื่อง เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

คลิกที่นี่