เรื่อง ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน

ประชากร

หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง

ภูมิศาสตร์ประชากรเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับประชากรในท้องถิ่นต่างๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในท้องถิ่นนั้นๆ


ความหนาแน่นประชากร

จำนวนประชากรเทียบกับขนาดของพื้นที่ การคำนวณหาความหนาแน่นของประชากรเป็นความคิดที่จะเชื่อมโยงขนาดประชากรกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหนาแน่นนี้คำนวณได้ด้วยการหาจำนวนประชากรต่อหนึ่งหน่วยของพื้นที่ เช่น ตารางกิโลเมตร ตารางไมลื


การกระจายของประชากร

การที่ประชากรกระจายกันอยู่อาศัยตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจแบ่งพื้นที่ภูมิศาสตร์ออกตามเขตการบริหาร เขตการปกครอง เขตเมือง ชนบท หรือตามลักษณะของพื้นที่

บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือในประเทศสหัฐอเมริกาและเม็กซิโก เนื่องจากเป็นเขตที่มีปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐาน

บริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียกลางตอนเหนือของเอเชีย ตอนบนของอเมริกา เขตทะเลทรายของ ทวีปแอฟริกาและออสเตรเลีย เนื่องจากเป็นบริเวณที่มี สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานและการดำเนินชีวิตประชากร

การกระจายของประชากรในทวีปต่างๆ ของโลก พบว่า ปัจจัยทางภูมิศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความหนาแน่นหรือเบาบางของประชากรที่เรียกว่า การกระจายของประชากร โดยพื้นที่มีปัจจัยเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ส่งผลต่อความหนาแน่นของประชากร และทำให้บริเวณดังกล่าวมีความเจริญทางเศรษฐกิจ และขยายเมืองใหม่มีความเจริญเติโตมากขึ้น ส่วนในเขตภูมิประเทศทุรกันดาร พบความหนาแน่นของระชากรน้อย และด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่และคุณภาพชีวิตของประชากรเป็นอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงประชากรโลก

การเปลี่ยนแปลงประชากร คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดหรือจำนวนปละโครงสร้าง ประชากรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ อัตราเกิด อัตราตาย และการย้ายถิ่น

อัตราเกิด หมายถึง จำนวนการเกิดมีชีพต่อประชากร 1,000 คน ในปีใดปีหนึ่ง เช่น ใน ค.ศ.2017 อัตราเกิดประชากรดลกเท่ากับ 20 แสดงว่าในปีนั้นประชากรโลกมีทารกแรกเกิดรอด 20 คน สำหรับประชากรทุก 1,000 คน

อัตราตาย หมายถึง จํานวนผู้เสียชีวิตต่อประชากร 1,000 คน ในปีใดปีหนึ่ง เช่น ใน ค.ศ. 2017 อัตราตายประชากรโลกเท่ากับ 8 แสดงว่าในปีนั้นประชากรโลกมีผู้เสียชีวิต 8 คนต่อประชากรทุก 1,000 ค

การย้ายถิ่น หมายถึง การเคลื่อนย้ายของบุคคลหรือกลุ่มคนจาก สถานที่ที่อาศัยอยู่เดิมไปยังสถานที่ใหม่ทั้งแบบถาวรและกึ่งถาวร การย้ายถิ่นเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประชากร เช่นเดียวกับอัตราเกิดและอัตราตาย

สรุปได้ว่า การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากรเกิดจากปัจจัย 3 ชนิด คือ การเกิด กานตาย และการย้ายถิ่น โดยการเกิดจะมีผลทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น การตายทำให้จำนวนประชากรลดลง และการย้ยถิ่นทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นการย้ายถิ่นเข้า แต่จะทำให้จำนวนประชากรลดลง ถ้าเป็นการย้ายถิ่นออก นอกจากนี้ทั้ง 3 ปัจจัยยังมีผลกระทบต่อองค์ประกอบของประชากรด้านเพศและอายุ

โครงสร้างประชากรโลก

โครงสร้างประชากร เป้นการจำแนกสัดส่วนประชากรตามอายุและเพศ เรียกว่า พีระมิดประชากร ซึ่งช่ยให้เป็นสัดส่วนประชากรในวันพึ่งพิง คือ แรกเดิดถุง 14 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป กับวัยทำงาน คือช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปี

พีระมิดประชากร เป็นแผนภูมิที่เป็นกราฟแท่งประกอบกันเป็นรูปคล้ายพีระมิด แสดงจำนวนประชากรตามกลุ่มอายุต่างๆ และเพศ เพื่อแสดงโครงสร้างของประชากร โดยฐานแสดงประชากรในวัยแรกเกิด ยอดแสดงประชากรสูงวัย ซ้ายและขวาแสดงเพศชายและหญิง

การคาดการณ์พีระมิดประชากรไทย พ.ศ.2573 จะเห็นได้ว่า พีระมิดมีฐานแคบที่สดุ กลุ่มประชากรวัยแรกเกิดถึง 34 ปี มีจำนวนใกล้เคียงกัน มีอัตราการเกิดประชากรต่ำ แสดงถึง แนวโน้มประชากรลดลง กลุ่มประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนสูง และกลุ่มประชากรวัยสูงอายุสัดส่วนเพิ่มขึ้น แสดงถึงแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุของภาครัฐต่อไป

การตั้งถิ่นฐาน

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป้นการเลือกที่ตั้งบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศันและประกอบอาชีพ โดยทั่วไปการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มี 2 แบบ คือ การตั้งถิ่นฐานแบบชุมชนชนบท และการตั้งถิ่นฐานแบบชุมชนเมือง

การตั้งถิ่นฐานแบบชนบท คือ การตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเขตเมืองหรือเขตเทศบาล ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีแบบรูปการตั้งถิ่นฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การตั้งถิ่นฐาน แบบรวมกลุ่ม และการตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย

การตั้งถิ่นฐานแบบเมือง ชุมชนเมืองเป็นชุมชนที่มีจํานวนและความหนาแน่นประชากร มาก บ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

พาณิชยกรรม และการบริการ มีสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่อยู่อาศัย เส้นทางคมนาคม สิ่งอํานวยความสะดวก การบริการต่างๆ

ปัญหาการตั้งถิ่นฐานเมืองที่พบทั่วไปตามเมืองต่างๆ มีดังนี้ ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเกาะความร้อน ปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนในพื้นที่หนึ่ง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ความรู้ ความสามารถด้านการ ผลิตหรือการนําทรัพยากรมาใช้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต การบริการและการท่องเที่ย

การผลิตที่สำคัญของทวีปเอเชีย คือ ข้าว ยางพารา ทวีปยุโรป คือ การทำประมงทะเล ทวีปอเมริกาเหือ คือ ข้าวสาลี ข้าวโพด ทวีปอเมริกาใต้ คือ กาแฟ ทวีปแอฟริกา คือ โกโก้ ทวีปออสเตรเลีย คือ โคนมและเลี้ยงแกะ อุตสาหกรรมที่สำคัญของทวีปเอเชีย คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน ผลิตรถยนต์ ทวีปอเมริกาใต้ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร ทวีปออสเตรเลีย คือ อุตสาหกรรมเหล็ก แปรรูปเรื้อสัตว์และนม การท่องเที่ยวในแต่ละทวีปและแต่ละประเทศมีความสำคัญต่อรายได้ของประเทศ ค.ศ.2016 ประเทศฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก