เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติ

ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค

  1. แผ่นดินไหว เป็นภัยจากการสั่งสะเทือนของแผ่นดินที่รุนแรงจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนและการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการเสียหายและสิ่งปลูกสร้างเสียหาย บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว คือ แววงแหวนแห่งไฟ

  2. ภูเขาไฟปะทุ เป็นภัยจากหินหนืดใต้พื้นผิวเปลือกโลกแทรกดัน พุ ไหล ปะทุ หรือระเบิดรุนแรงเป็นเหตุให้เกิดเถ้าธุลี แก๊ส ไอน้ำ และทีฟรา บริเวณที่เกิดภูเขาไฟปะทุ ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว

  3. สึนามิ เป็นภัยจากคลื่นขนาดใหญ่ในทะเล เคลื่อนตัวย่างรวดเร็วและมีพลังมากเข้ากระทบชายฝั่งจากแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ทะเล ภูเขาไฟปะทุรุนแรงใต้ทะเล และแผ่นดินถล่มรุนแรงใต้ทะเล

  4. แผ่นดินถล่ม เป็นภัยจากการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน หิน บริเวณภูมิประเทศลาดชันจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของโลก และมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ถล่มลงมาทับบ้านเรือน และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดภัยดินถล่ม

ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค

วาตภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากลมพายุรุนแรงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน

วาตภัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน และพายุทอร์นาโด

  • พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวดิ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรงทำให้มีลูกเห็บตก

  • พายุหมุนเขตร้อน มีสาเหตุมาจากการที่น้ำในมหาสมุทรได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิของน้ำจึงสูงขึ้น และกลายเป็นไอน้ำจำนวนมากระเหยขึ้นสู่บรรยากาศ จากนั้นไอน้ำจะเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ และก่อตัวเป็นเมฆ ซึ่งการกลั่นตัวของไอน้ำนี้จะมีการคายความร้อนออกมา เมื่อพลังงานความร้อนในส่วนนี้ประกอบกับแรงโคริออริสที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ก็จะทำให้เกิดเป็นพายุหมุนได้

  • พายุทอร์นาโด นื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่อบอุ่นกว่า จึงทำให้เกิดกการถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัดและเป็นไปได้โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลมหมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนค่อย ๆ ช้าลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไปได้อย่างง่ายดาย

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ

ภัยพิบัติธรรมชาติทางอุทกภาค

อุทกภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือน้ำไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำเข้าท่วมพื้นที่

อุทกภัยจำแนกตามภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ได้ 3 ประเภท ได้แก่ อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลาก อุทกภัยจากน้ำท่วมขัง อุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง

สาเหตุการเกิดอุทกภัยที่รุนแรง น้ำป่าไหลหลาก มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนพัดผ่าน ทำให้ฝนตกหนักติดต่อกันนานจนพื้นดินและป่าไม้ดูดซับไว้ไม่ได้จึงเกิดการไหลบ่าลงสู่บริเวณที่ต่ำกว่า น้ำท่วมขัง มาจากสาเหตุที่ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม การระบายน้ำและระบบการจัดการน้ำไม่ดี หรือน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณที่ลุ่มชายฝั่ง ส่วนน้ำล้นตลิ่ง มาจากสาเหตุบริเวณน้ำในแม่น้ำมีมากเกินความจุของลำน้ำ จึงล้นออกไปด้านข้าง

ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญเสียทางเศรษฐกิจ บริเวณเสี่ยงอุทกภัยรุนแรงสัมพันธ์กับบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน

ภัยแล้ง หมายถึง ภัยที่เกิดจากการมีฝนน้อยกว่าปกติหรือไม่ตกต้องตามฤดูการ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ น้ำทำการเกษตร ความรุนแรงของภัยแล้งขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ระยะเวลาที่เกิดภัยแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง

กระบวนการเกิดภัยแล้ง เกิดจากฝนตกในปริมาณน้อยกว่าปกติหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้แหล่งนำ้ต่างๆ ทั้งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดินมีปริมาณลดลง เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำของพืชและมนุษย์นำไปสู่สภาวะความอดอยาก

การเกิดภัยแล้ง มีสาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้มีน้ำกักเก็บในแหล่งน้ำน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ทำให้อัตราการระเหยของน้ำผิวดินสูงขึ้น การทำลายป่าไม้ที่เป็นป่าต้นน้ำ ทำให้ไม่มีต้นไม้ที่ทำหน้าที่ดูดซับฝนลงส฿่ใต้ผิวดิน และความต้องการใช้น้ำในปริมาณมากเกินน้ำต้นทุนจากฝนจะทดแทนได้

ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

ไฟป่า หมายถึง ไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงตามธรรมชาติในป่า หรือทุ่งหญ้า เช่น ป่าไม้ เศษไม้บนพื้นป่า หญ้า วัชพืช ไม้พื้นล่าง ไม้พุ่ม กิ่งไม้แห้ง แล้วลุกลามโดยอิสระ โดยไม่สามารถควบคุมได้ สร้างความเสียหายต่อสมดุลธรรมชาติ

กระบวนการเกิดไฟป่า ขึ้นต่อองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ความร้อน แก๊สออกเจน และเชื้อเพลิง

ประเภทของไฟป่า จำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่ ไฟใต้ดิน ไฟผิวดิน ไฟเรือนยอด

สาเหตุการเกิดไฟป่าที่รุนแรง

  • สาเหตุจากธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกันจากแรงลมพัด ภูเขาไฟปะทุ ปฏิกิริยาเคมีในดินบริเวณป่าพรุ ทำให้เกิดความร้อยโดยมรแก๊สออกซิเจนและวัสดุเชื้อเพลิงต่างๆ เป็นองค์ประกอบให้เกิดการลุกลามโดลอิสระในผืนป่า

  • สาเหตุจากมนุษย์ที่เกิดมากที่สุดมาจากการจุดไฟเผาป่า เพื่อเก็บหาของป่า เช่นรังผึ้ง รังไขมดแดง หรือจุดเพื่อกระตุ้นให้พืชผักบางชนิดที่มีอยู่ในป่างอกขึ้นมาใหม่หรือแตกใบใหม่ สาเหตุรองลงมา คือ การเผาไร่หรือพื้นที่เพาะปลูกภายหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อกำจัดวัชพืช และเตรียมพื้นที่เพาะปลูกคร้งต่อไป โดยปราศจากแนวป้องกันไฟ ไฟจึงลามไปติดป่าบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งความประมาทของมนุษย์จากการก่อกองไฟแล้วลืมดับหรือดับไม่สนิท ทิ้งก้นบุหรี่ลงในพื้นป่า

ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้พื้นป่าลดน้อยลง ป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนเป็นทุ่งหญ้า หมอกควันจากไฟป่า ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ และการคมนาคมทางอากาศ เกิดการชะล้างพังทลายของน้ำดินได้ง่าย