เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ถ่านหิน
ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือ มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทาง เสริมสร้างและทำลายจะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่นประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและ หมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
ที่มา : http://kzbej.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น
และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประเภทของสิ่งแวดล้อมมี 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มี
ลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้
2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสีความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้เช่นกัน
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์
ใช้ความรู้ ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ
1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น
บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจ
มีความจำเป็น แต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social
Environment) หรือ ( Abstract Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม
ที่มา : https://sites.google.com/site/pitchathak78/khwam-hmay-sing-waedlxm
ลักษณะของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหารัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำแนกเป็น 2 ลักษณะ
1. ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์มากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาความขาดแคลน และส่งผลให้ทรัพยากรเกิดความเสื่อมโทรม เช่น การปลูพืชเชิงเดี่ยวติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ธาตุอาหารหลักบางชนิดลดลง
2. มลพิษสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่สะสมจนเกินขีดความสามารถในการรองรับได้ของสิ่งแวดล้อมนำไปสู้การเกิดมลพิษ เช่น การทิ้งขยะและการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตลาหกรรมลงในแแหล่งน้ำ ควันเสียจากรถยนตืและโรงงานอุตสาหกรรม
สาเหตุของารเกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การเกิดวิกฤษการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดทั้งการขาดแคลน ความเสื่อมโทรมหรือการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรที่มีอยู่เดิม ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำทรัพยากรมาใช้เพิ่มมากขึ้น การขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
สาเหตุของการเกิดปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำแนกได้ 2 ประการ คือ
1.สาเหตุจากธรรมชาติ เกิดจากการที่ธรรมชาติมีการปรับสมดุลตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่่บริเวณโดยรอบ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย
2.สาเหตุจากมนุษย์ สาเหตุของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ที่เกิดจากมนุษย์ วิเคราะห์ได้ ดังนี้
2.1) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำใหสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความขาดแคลน เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย การใช้พลังงาน การคมนาคมขนส่ง ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมจากปัญหาขยะที่เหลือจาการอุปโภคบริโภคสืนค้าและบริการต่างๆ
2.2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคดนโลยี ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตทั้งภาคการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ หากใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาได้เช่นกัน เช่น การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ทั้งเร่งผลผลิต การกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีลงสู่ดิน แหล่งน้ำและอากาศ
2.3) การขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ และ ขาดความตระหนัก ถึงการการเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายเพราะความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ของส่วนรวม
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรดิน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรดิน ทำให้เกิดความเสื่อมคุณภาพของดิน มีทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ดังนี้
1.ความเสื่อมคุณภาพของดินทางกายภาพ คือ การสูญเสียโครงสร้างหน้าดินและอินทรียวัตถุ
2.ความเสื่อมคุณภาพของดินทางเคมี คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ธาตุอาหารในดินขาดความสมดุล ดินเกิดสภาพเป็นกรด ด่าง และดินเค็ม ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโต การใช้สารเคมีในการเพาะปลูกยังก่อให้เกิดมลพิษทางดิน
3.ความเสื่อมคุณภาพของดินทางชีวภาพ คือ การลดลงของอินทรียวัตถุและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืช
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรดินที่สำคัญของโลกที่มีศักยภาพในการผลิตต่ำที่ปรากฏ ได้แก่ ดินเปรี้ยว ดินทรายจัด ดินตื้นมีลูกรังปน ดินถูกชะล้างพังทลายรุนแรง ทำให้ความสมบูรณ์ลดลง และปัญหาดินเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตอาหารของโลกลดลง การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช เนื่องจากทำให้พืชขาดน้ำและสะสมไอออนที่เป็นพิษต่อพืช
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรดินที่พบในประเทศไทย คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร เช่น ดินเปรี้ยวจัด ดินเค็ม ดินตื้น ดินอินทรีย์ ดินทรายจัด และดินเหมืองแร่ร้าง และยังพบปัญหาการเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดิน โดยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้ดินเปลี่ยนสภาพไป
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรดิน มีดังนี้
1.การเสื่อมสภาพโครงสร้างดินทางกายภาพ เนื่องจากการถูกนำมาใช้มากเกินไปและขาดการบำรุงรักษาดินอย่างถูกวิธี ทำให้ดินถูกชะล้างได้ง่าย และมีการพัฒนาชั้นดานในดิน ดินจึงไม่สามารถซึบซับน้ำ จึงเกิดการอิ่มตัวของชั้นดินบนอย่างรวดเร็ว การไหล่บ่าบนพื้นผิวหน้าดิน การชะล้างหน้าดินจึงเกิดได้ง่าย
2.ผลจากการใช้ดินต่อเนื่องมายาวนานและการชะล้างดินมีมากขึ้น เป็นผลทำให้คุณสมบัติทางเคมีของดิน ธาตุอาหารที่สำคัญถูกชะล้างสูญเสียไปกับดิน จึงทำให้ดินจืด และขาดธาตุอาหารในดิน
3.ผลจากการใช้ดินซ้ำซาก การชะล้างมากขึ้นเป็นผลทำให้อินทรียวัตถุในดิน พร้อมทั้งจุลชีพที่เป็นประโยชน์ต้องศุญเสียไป
4.กรปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า มีการใช้ครื่องจักรไถพรวน และมีการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ทำให้ดินขาดการพัฒนอย่างสมดุลตามธรรมชาติ ดินจึงเสื่อมโทรมและเกิดมลพิษทางดิน เนื่องจากใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี
แนวทางการจัดการทรัพยากรดิน
1.ในปัญหาโครงสร้างดิน เมื่อใช้ดินมายาวนานควรต้องมีการไถพรวนระดับลึกเพื่อเป็นการทำลายชั้นดานในดิน เพื่อให้น้ำหน้าดินซึมซับได้ตลอดทุกชั้นดิน
2.ปัญหาดินขาดธาตุอาหาร ควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทางธรรมชาติ ไถกลบซากพืชไม่เผาทำลาย และมีการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจน ฯลฯ
3.ปัญหาดินขาดอินทรียวุตถุ ควรปลูกพืชหมุนเวียนประจำปี และปลูกพืชหลากหลายชนิดอย่างผสมผสาน เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดิน ให้พืชคลุมดิน และจุลินทรีย์ในดินทำงานได้ดี
สถานการ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรน้ำ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรน้ำ มีสาเหตุ ดังนี้
1.การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศต่างๆ ทำให้ความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น
2.ภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำผิวดิน เช่น ทะเลสาบ และแม่น้ำแห้งขอด
สถานการณ์การขาดแคลนน้ำ
รายงานสถานการณ์น้ำของโลกของสหประชาชาติชี้ให้เห็นว่าประชากรโลก 1 ใน 5 คน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและขาดแคลนน้ำดื่ม ในขณะที่ธนาคารโลกประมาณการว่า 30 ปีข้างหน้า ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ หากยังคงมีการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย
สำหรับประเทศไทย สถานการณ์การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคทั้งในภาคเกษตรกรรมของประชากรในชนบท ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประชากรในเขตเมืองใหญ่ต่างๆ ถึงแม้ประเทศไทยตั้งอยู่ใในเขตร้อนชื้น มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีสูงกว่า 1,500 มิลลิเมตร แต่ก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง สาเหตุมาจากที่ตั้งในเขตร้อน แสงแดดจัดและยาวนาน จึงมีอัตราการระเหยของน้ำผิวดินสูง บางพื้นที่เป็นดนปนทราย หินทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี กักเก็บน้ำได้น้อย
ผลกระทบจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ มีดังนี้
1.จากรายงานของสหประชาชาติระบุว่า ประชากรโลกประมาณ 3,500 ล้านคน ขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดตามหลักสุขาภิบาล ทำให้ประชากรประมาณ 5 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากน้ำไม่สะอาด
2.เมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลกประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มและน้ำอุปโภคบริโภคจากปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอและมีสารปนนเปื้อน
3.ผลผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมทั้งพืช อาหาร และสัตวืเลี้ยง เพื่อการบริโภคลดลงจนไม่เพียงพอ
แนวทางกรจัดการการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ
1.วางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
2.สร้างและจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินที่ได้จากฝน
3.จัดการและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้บริเวณต้นน้ำ เพื่อให้มีปริมาณฝนที่เป็น้ำต้รทุนในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้
สถานการณ์มลพิษทางน้ำ
น้ำคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิตเป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำและพืชหลากหลายชนิด นอกจากนั้นน้ำยังมีประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม มีประโยชน์สำหรับครัวเรือน ในการดื่มกิน ใช้ประกอบอาหาร หรือใช้ชำระล้างร่างกายและสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำยังทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิต
คุณสมบัติของน้ำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุดก็คือ น้ำ
บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารพิษเจือปน
ในอดีตมนุษย์สามารถนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้
ต่างจากปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำจนไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
1.เกิดจากน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน เช่น น้ำที่ใช้ซักฟอกทำความสะอาดซึ่ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์ปะปนมากับน้ำทิ้งเหล่านั้นจนทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ
2.น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหากโรงงานมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีปริมาณมากและสารปนเปื้อนมีอัตราสูง
3.น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ อาจเกิดจากการเน่าเสียเมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการไหลเวียนถ่ายเท
4.เกิดจากพื้นที่ทำการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำยาปราบศัตรูพืชกันมากขึ้น จึงทำให้มีสารตกค้างอยู่ตามต้นพืชและพื้นผิวดิน เมื่อฝนตกและพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างลงสู่แม่น้ำลำคลองก็ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำขึ้นได้
ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ
1.กระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ เช่นน้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตตายทันที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง อาจทำลายพืชและสัตว์น้ำเล็กๆที่เป็นอาหารของปลา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หรือแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลง
2.เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย
3.มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร
4.มีผลต่อกระทบต่อทัศนียภาพ เพราะความสวยงามของแหล่งน้ำสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมทางน้ำเพื่อความบันเทิงได้
5.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เช่น มีกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่าเสีย
วิธีป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำ
1.ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์น้ำ
2.สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำ
3.รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
4.รณรงค์ให้ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
5.ช่วยกันป้องกันน้ำเน่าเสีย ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงในแหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ
ปัญหาน้ำเน่าเสียหรือการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงผลเสียและรับรู้การป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างถูกวิธีและได้ผลอย่างยั่งยืน
ที่มา : https://lux.co.th/cpt_blog/cause-and-impact-of-water-pollution/
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ
บรรยากาศโลกประกอบด้วย แก๊สไนโตรเจน แก๊สออกซิเจน ไอน้ำ ฝุ่นละออง จุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งแก๊สออกซิเจนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ และเมื่อส่วนประกอบของกาศเปลี่ยนแปลงไป มีฝุ่นละออง หมอก ควัน เขม่า กลิ่น หรือแก๊สที่เป็นพิษอยู่ในบรรยากาศมากขึ้น ทำให้ปัญหาคุณภาพอากาศลดลง หรือเกิดมลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศทีสำคัญ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์
มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศที่สําคัญมีดังนี้
1. ยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ รถยนต์เป็นแหล่งก่อปัญหาอากาศเสียมากที่สุด สารที่ออกจาก รถยนต์ที่สําคัญได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน และของกํามะถัน สารพวกไฮโดรคาร์บอนนั้น ประมาณ 55 % ออกมาจากทอไอเสีย 25 % ออกมาจากห้องเพลา ข้อเหวี่ยง และอีก 20 % เกิดจากการระเหยในคาร์บูเรเตอร์ และถังเชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจนคือ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และไน ตรัสออกไซด์ (N2O) เกือบทั้งหมดออกมาจากท่อไอเสีย เป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้สารตะกั่วในน้ำมันเบนซินชนิดซุปเปอร์ยังเพิ่มปริมาณตะกั่วในอากาศอีกด้วย
2. ควันไฟ และก๊าซพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
- จากโรงงานผลิตสารเคมี ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงผลิตไฟฟ้า โรงงานทําเบียร์ โรงงาน สุรา โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานถลุงแร่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทําแก้ว โรงงานผลิตหลอดไฟ โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงงานผลิตกรด
- พลังงานที่เกิดจากสารเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทําให้เพิ่มสาร ต่าง ๆ ในอากาศ อาทิ สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกไซด์ของไนโตรเจน และ กํามะถันในบรรยากาศ
3. แหล่งกําเนิดฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้แก่ บริเวณที่กําลังก่อสร้าง โรงงานทําปูนซีเมนต์ โรงงาน โม่หิน โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตโซดาไฟ เหมืองแร่ เตาเผาถ่าน โรงค้าถ่าน เมรุเผาศพ
4. แหล่งหมักหมมของสิ่งปฏิกูล ได้แก่ เศษอาหาร และขยะมูลฝอย
5. ควันไฟจากการเผาป่า เผาไร่นา และจากบุหรี่
6. การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกัมมันตรังสี
7. การตรวจและรักษาทางรังสีวิทยา การใช้เรดิโอไอโซโทป ที่ขาดมาตรการที่ถูกต้องในการ ป้องกันสภาวะอากาศเสีย
8. อากาศเสียที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่า กัมมันตรังสีที่เกิดตามธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ความเป็นพิษเนื่องจากสาเหตุข้อนี้ค่อนข้าง น้อยมาก เนื่องจากต้นกําเนิดอยู่ไกล จึงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์ได้น้อย
ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ
1. ทําลายสุขภาพ อากาศเสียทําให้เกิดโรค แพ้อากาศ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรค เกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิต ผลที่เกิดในระยะยาวอาจทําให้ถึงตายได้
2.ทําลายสิ่งก่อสร้างและเครื่องใช้โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่ทําด้วยโลหะทําให้เกิดการสึกกร่อน ทําให้หนังสือและศิลปกรรมต่าง ๆ เสียหาย
3. ทําให้ทัศนวิสัยเลวลง และมีผลทําให้อุณหภูมิอากาศลดต่ำาลงกว่าปกติได้ ทัศนวิสัยเลวลง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งในอากาศ ท้องถนน และท้องน้ำ
ที่มา : https://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environmen%20gr.4/Mola2.html
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่สำคัญของโลกส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ การเกิด ช่องโหว่โอโซนในชั้นบรรยากาศ สาเหตุจากการปล่อยสารซีเอฟซี (CFC)หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วไปทำลายชั้นโอโซน (O3)ในชั้นสแตรโทสเฟียร์ ผลกระทบคือ ทำให้รังสี อัลตราไวโอเลต (UV)ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกมากขึ้น โดยสถานการณ์นี้รุนแรงมากบริเวณทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งผิวหนัง การจัดการปัญหาช่องโหว่โอโซน คือ ควบคุมการใช้วัตถุหรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดสารซีเอฟซี
เนื้อหาเพิ่มเติม
สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของโลกที่สำคัญ คือ การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้เป็นจำนวนมาก จากสถิติพบว่าโดยรวมพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายประมาณปีละกว่า 3ล้านตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าไม้เขตร้อนชื้น ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ คือ โลกกำลังสูญเสียพันธุ์สัตว์ และพันธุ์พืชในป่าเขตร้อน
สถานการณ์การลดลงของเนื้อที่ป่าไม้ธรรมชาติในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก เปรียบเทียบระหว่าง ค.ศ. 1990, 2000, 2010 และ 2015 จะเห็นได้ว่า ทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้มีปริมาณอัตราลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ ทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียลดลงต่ำสุด และทวีปยุโรปค่อนข้างคงที่
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย จากกราฟจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่มาก เช่น ใน พ.ศ. 2558ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 102.24ล้านไร่ หรือร้อยละ 31.60ของพื้นที่ประเทศ ใน พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 102.17 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งลดลงจาก พ.ศ. 2558 ร้อยละ 0.07 หรือประมาณ 65,000 ไร่ โดยภูมิภาคที่มีอัตราการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ที่รุนแรงที่สุด คือ ภาคตะวันออกและภาคใต้
ผลกระทบจากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ มีดังนี้
1.การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ปริมาณและชนิดสัตว์ป่าและพืชพรรณลดลง
2.พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดลมพายุที่รุนแรงมากขึ้น
3.เมื่อฝนตกหนักและไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน ทำให้เกิดดินถล่มบริเวณเขตภูมิประเทศลาดชันลงมาทับบ้านเรือน และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
4.ป่าไม้ลดลง ทำให้ระบบอุทกวิทยาในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยปกติพื้นที่ป่าไม้จะมีน้ำไหลรินอยู่ในพื้นที่ป่าตลอดเวลา แต่เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ระบบลำห้วย ลำคลอง แม่น้ำเกิดการขาดแคลนน้ำ ความชื้นในดินมีการระเหยมากขึ้น
5.เมื่อป่าไม้ลดลงทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และมนุษย์
แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มีดังนี้
1.ลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า โดยทุกประเทศจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงสภาพเดิม
2.ป้องกันการสูญเสียป่าไม้ที่เกิดจากไฟป่าในทุกประเทศ เช่น สร้างแนวกันไฟรอบพื้นที่ หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดไฟป่า
3.การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ เช่น การปิดป่า การประกาศเป็นเขตอนุรักษ์
4.การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย
สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity)หมายถึง สภาพที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือในระบบนิเวศหนึ่ง จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ความหลากหลายของชนิด 2. ความหลากหลายทางพันธุกรรม 3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ดัชนีความหลากหลาย เป็นการพิจารณาถึงความชุกชุมและความสม่ำเสมอของชนิด สิ่งมีชีวิตให้สามารถเปรียบเทียบความหลากหลายระหว่างบริเวณได้ ซึ่งในแต่ละบริเวณของโลกโดยเฉพาะในแต่ละเขตละติจูดจะมีความหลากหลายทางชีวภาพแตกต่างกัน บริเวณป่าฝนเขตร้อนของโลกเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตมากที่สุดของโลก ที่สำคัญ คือ บริเวณศูนย์สูตรของป่าแอมะซอน ป่าแอฟริกา และป่าอินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นเขตภูมิอากาศร้อนชื้น คือ อุณหภูมิสูง และฝนตกชุก ทำให้มีพืชพรรณหลากหลายชนิด และเป็นเหตุให้มีชนิดของสัตว์มากตามพืชพรรณที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ชนิดต่าง ๆ
สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพปัจจุบัน คือ การทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่เฉพาะแต่การถูกคุกคามโดยมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่รวดเร็ว เช่น อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น ไฟป่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ ปัจจุบันโลกกำลังสูญเสียสัตว์และพืชพรรณในป่าเขตร้อน อย่างน้อย 27,000 ชนิดต่อปี นอกจากเขตร้อนชื้นแล้ว ในระบบนิเวศอื่น ๆ เช่น แนวปะการัง พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เกาะ และภูเขา ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังลดลงเช่นกัน
ข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) จากรายงาน Living Planet Report ประจำปี 2559 ระบุว่า ภายในปี 2563 ประชากรสัตว์ป่าประมาณ 2 ใน 3 สายพันธุ์จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจมีการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดีและเสือโคร่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2513-2555 มีจำนวนสัตว์ป่าลดลงมากถึงร้อยละ 58
ผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
1.นำไปสู่ภาวะโฮโมโซโกซิตีคือ ภาวะพันธุ์แท้ สัตว์ผสมตัวเองมากขึ้น ก่อให้เกิดพันธุ์แท้ ซึ่งอาจมียีนที่เป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากรสัตว์
2.ทำให้ระบบนิเวศในแต่ละระบบขาดตอน นำไปสู่การสูญเสีย สายพันธุ์ชีวิตทั้งระบบ
3.ทำให้สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
4.ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในการขาดแคลนอาหาร
5.มีผลกระทบต่อการผลิตยารักษาโรคในทางการแพทย์มีการผลิตยาจากพืชและสัตว์ในปริมาณมาก
การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพในระหว่างประเทศ ดำเนินการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) อันเป็นข้อตกลงเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ยอมรับวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมและเสมอภาคจากการใช้ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2004
แนวทางการจัดการปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ มีดังนี้
1.ลดการทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
2.ออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองป่า ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่า และปฏิบัติใช้อย่างเข้มงวด
3.จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด
4.จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งมีชีวิตทั้งในถิ่นกำเนิดและนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงและอนุบาลชั่วคราว ก่อนนำกลับไปสู่ธรรมชาติ เช่น สวนพฤกศาสตร์ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์
5.ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกัน เป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่มา : https://krumewbiology.wordpress.com/
การทำเหมืองถ่านหินในรัสเซีย
แท่นขุดเจาะน้ำมัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
แหล่งขุดแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรแร่และพลังงาน
ทรัพยากรแร่และพลังงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม จากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาการผลิตและสำรวจหาแหล่งทรัพยากรแร่และพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มากขึ้น จึงเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต แหล่งพลังงานหลักของโลกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่เนื่องจากแหล่งพลังงานฟอสซิลกำลังจะหมดไปจึงมีการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาดมาใช้แทน ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ กระแสน้ำและคลื่นทะเล และพลังงานชีวภาพ
สถานการณ์ทรัพยากรแร่และพลังงานของประเทศไทยโดยรวมต้องนำเข้าแร่และพลังงานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากต่างประเทศ ได้แก่ แร่เหล็กจากประเทศออสเตรเลีย เนื่องจาก ประเทศไทยพบเฉพาะแร่เหล็กคุณภาพต่ำ และมีปริมาณไม่เพียงพอ ถ่านหินส่วนใหญ่ที่พบเป็นลิกไนต์ ซึ่งมีคุณภาพต่ำ คือ ใช้ปริมาณมาก แต่ได้ปริมาณความร้อนจำกัด น้ำมันดิบส่วนใหญ่นำเข้า จากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทรัพยากรแร่กลุ่มพลังงานที่ประเทศไทยมีปริมาณมาก คือ แก๊สธรรมชาติ โดยมีแหล่งใหญ่ที่สำรวจพบและนำมาใช้อยู่ในอ่าวไทย
ผลกระทบจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรแร่และพลังงาน
ทรัพยากรแร่และพลังงานเมื่อนำมาใช้ในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ จึงจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างถูกวิธี และให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของชาติ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น
แนวทางการจัดการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรแร่และพลังงาน
การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรแร่และพลังงานในหลายประเทศใช้แนวทางพลังงานทางเลือก ทดแทนทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัด ซึ่งสามารถผลิตและนำมาหมุนเวียนใช้ได้อีก รวมทั้งเป็น พลังงานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้พลังงานหมุนเวียนจากความร้อนใต้พิภพ สัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของทั่วโลก
มาตรการป้องกัน แก้ไขและประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของโลก
สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับสังคม โดยมีมาตรการเกี่ยวกับ การป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะเวลา 15ปี (ค.ศ. 2016-2030) ดังนี้
เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันให้มีน้ำใช้ การบริหารจัดการน้ำ และการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสภาพแวดล้อม พ.ศ. 2535และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1.การจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม หรือองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
2.ออกกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ
3.การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.การให้การศึกษาแก่ประชาชน โดยสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
5.ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 4การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
1.การรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
2.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมดุล และยั่งยืน
3.แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
4.ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.สนับสนุนการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
6.การบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ
7.พัฒนาระบบการบริหารจัดการและกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.การพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
องค์กรในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์กรที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อคุ้มครองดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) หน่วยงานภาครัฐ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
-หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม
กรมป่าไม้
กระทรวงสาธารณสุข
กรมทรัพยากรน้ำ
กรมชลประทาน
2) หน่วยงานภาคเอกชน
สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) เป็นการรวมกลุ่มกันขององค์กรเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) ที่มุ่งทำงานเพื่อให้คนไทยได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม องค์กรเอกชนที่เป็นสมาชิกของสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) เช่น
(1) มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
(2) มูลนิธิโลกสีเขียว
(3) มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
(4) มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
องค์กรระหว่างประเทศในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพด้วยการรณรงค์โดยใช้วิธีการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีกรีนพีซเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการรณรงค์เพื่อต่อสู้กับการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ และการล่าวาฬในทะเลเปิด
2) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP)มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
3) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลหรือกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature: WWF) มีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นทำงานด้านป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพืชน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมหาสมุทร
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณช่วง พ.ศ. 2503 กฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่สำคัญ มีดังนี้
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เป็นการดำเนินการปรับองค์กรให้มีเอกภาพ มีการกำหนดนโยบาย แผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ การกระจายอำนาจ การบริหาร และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่จังหวัดและท้องถิ่น กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายได้ระบุสิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการช่วยรักษา ดูแล และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ส่งเสริมให้ ประชาชนได้รับข้อมูลนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง
2.พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
เป็นการควบคุมกระบวนการทำไม้ และการเก็บหาของป่า เช่น การกำหนดไม้หวงห้าม การกำหนดค่าภาคหลวง การกำหนดขนาดจำกัดไม้หวงห้าม การกำหนดของป่าหวงห้าม การเก็บหาของป่าที่หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ และต้องเสียค่าภาคหลวง
3.พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
เป็นการจัดการควบคุมและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติเป็นการเฉพาะ ห้ามมิให้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นผลกระทบให้อุทยานแห่งชาติถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป มุ่งเน้นให้ประชาชนใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ทดลองค้นคว้า ทางธรรมชาติ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และเพื่อความรื่นรมย์ของประชาชน
4.พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
เป็นการกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือคุ้มครองป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้ราษฎรเข้าไปยึดครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่า รวมถึงห้ามกระทำการใด ๆ อันเสื่อมเสียแก่สภาพป่า
5.พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535
ส่งเสริมให้มีการปลูกสวนป่าเพื่อการค้าในที่ดินของรัฐและเอกชน โดยผู้ทำสวนป่าต้องมีตราเพื่อแสดงการเป็นเจ้าของไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า และนำตราออกมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้นำมาขึ้นทะเบียนแล้ว
6.พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
มุ่งคุ้มครองสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยการกำหนดประเภทของสัตว์ป่าเป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยห้ามล่าหรือพยายามล่า ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามมีไว้ในครอบครอง ห้ามค้า ห้ามเก็บ หรือทำอันตราย
7.พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ใช้ควบคุมและกำกับดูแลการตั้งและประกอบกิจการโรงงานให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงป้องกันความเสียหายหรืออันตรายที่อาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม
8.พระราชบัญญัติการพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551
ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ดิน โดยการวางแผนการใช้ที่ดิน การสำรวจที่ดิน และกำหนดเขตในการอนุรักษ์ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดชันเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน หรือกรณีการใช้หรือทำให้ดินเกิดการปนเปื้อนสารเคมี
9.กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของประเทศไทย
เป็นกฎหมายการรักษาความสะอาดห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือขยะมูลฝอยในที่ห้าม ในน้ำรวมถึงทะเล เป็นกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมาก หลายประเทศทั่วโลกจึงทำข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการลงนาม รับรองการเข้าเป็นภาคีหรือสมาชิกของอนุสัญญาซึ่งมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญา
อนุสัญญาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
อนุสัญญาแรมซาร์ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำ
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
อนุสัญญาไซเตส มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม
อนุสัญญามรดกโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda21) เป็นแผนดำเนินการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
อนุสัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
อนุสัญญารอตเตอร์ดัม ว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตราย
อนุสัญญาบาเซิล ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการนำผ่านกากของเสียอันตรายข้ามแดน
พิธีสารมอนทรีออล เพื่อป้องกันชั้นโอโซนในบรรยากาศไม่ให้ถูกทำลายและร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากช่องโหวของชั้นโอโซน
พิธีสารเกียวโต มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของปริมาณแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
อนุสัญญาสตอกโฮล์ม ว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตินั้นได้ตลอดไป ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจึงต้องใช้อย่างฉลาด ประหยัด และเหมาะสม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเก็บรักษาทรัพยากรธรรมชาติ นั้นไว้โดยไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1)การสำรวจ เป็นการค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องการนำมาใช้ประโยชน์
2)การป้องกันและปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการป้องกันและรักษาไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติมีสภาพเสื่อมโทรม
3)การลดอัตราการสูญเสีย เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่
4)การนำทรัพยากรมาใช้ทดแทนกัน เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมากหรือที่เกิดใหม่โดยระยะเวลาไม่นาน มาใช้ประโยชน์แทนทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังขาดแคลนและใช้ระยะเวลาในการเกิดยาวนาน
5) การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพรองลงมา มนุษย์มักเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ดีที่สุดในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดนั้น ๆ มีจำนวนลดน้อยลง
6)การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก แต่ถ้ามีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานทรัพยากรนั้นจะมีประโยชน์มากขึ้น
7)การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งของบางอย่างเมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก
8)การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นมาใช้ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถผลิตของเทียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้
9)การปฏิเสธการใช้วัสดุย่อยสลายยากโดยไม่จำเป็น เป็นการลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากและตกค้างในสิ่งแวดล้อม
แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มีความคล้ายคลึงกันหลายประการที่สำคัญ เช่น การใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าสูงสุด คำนึงถึงการใช้ในระยะยาว การหาทรัพยากรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถฟื้นฟูสภาพได้มาทดแทน รายละเอียดจำแนกตามทวีปต่าง ๆ ของโลกได้ ดังนี้
1) ทวีปเอเชีย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการสร้างความร่วมมือด้านเครือข่ายเฝ้าระวัง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การพัฒนาพลังงานสะอาด และการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในเอเชียตะวันออกหลายประเทศเน้นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก
2) ทวีปยุโรป สหภาพยุโรปมีการจัดตั้งองค์กรสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยกำหนดให้มีการลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกลงในทุกประเทศของสหภาพยุโรป และจำกัดการใช้สารเคมีอันตราย
3) ทวีปแอฟริกา ในบริเวณด้านตะวันออกของทวีปมีการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติและเขตป่าสงวนหลายแห่ง เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
4) ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีการกำหนดเขตเชื่อมโยงของอุทยานแห่งชาติ เพื่อสร้างแนวเขตป่าอนุรักษ์ให้ต่อเนื่องระหว่างประเทศประเทศสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายป้องกันและควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยกำหนดให้ใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก
5) ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ในประเทศนิวซีแลนด์จำกัดให้รถยนต์ต้องปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณต่ำ และประเทศออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล ห้ามการทำประมง การขุดแร่น้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติที่เป็นการทำลายแหล่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนทั่วไปสามารถ ดำเนินการด้วยตนเองได้ทันที คือ การสร้างอุปนิสัยเป็นผู้บริโภคสีเขียว ที่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการใช้สินค้าและบริการนั้น แนวคิดการเป็นผู้บริโภคสีเขียวที่สามารถมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1)การลดการใช้ (Reduce)
2)การใช้ซ้ำ (Reuse)
3)การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
4)การซ่อมแซม (Repair)
5)การปฏิเสธ (Refuse)
6)การตอบแทน (Return)
7)การเปลี่ยนความคิด (Rethink)
โรงบำบัดน้ำเสียที่กรุงวอชิงตันถือเป็นโรงงานบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในกรุงวอชิงตัน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีดังนี้
1.1 การจัดการทรัพยากรดิน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน ไม่เหมาะสม เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรม การจัดการทรัพยากรดิน มีดังนี้
1) การฟื้นฟูและป้องกันดินสึกกร่อนพังทลาย เช่น การทำนาขั้นบันไดในประเทศอินโดนีเซียและจีน การทำไร่องุ่นแบบขั้นบันไดในประเทศเยอรมนี การปลูกพืชคลุมดินโดยการปลูกหญ้าอย่างถาวร
2) การแก้ไขดินที่มีปัญหา เช่น ปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทรายจัด และการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น การใช้อินทรียวัตถุจำพวกวัชพืช หญ้า ใบไม้ที่ร่วง ฟางมาคลุมผิวหน้าดิน และไถพรวนให้น้อยลงเพื่อลดการสึกกร่อนของดิน ช่วยให้ดินร่วนซุยและมีความชื้น
1.2 การจัดการทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น อุปโภคบริโภค การเกษตรอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง การประมง การท่องเที่ยว น้ำมีการใช้อย่างสิ้นเปลือง และขาดการควบคุมดูแลที่ถูกวิธี เกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย การจัดการทรัพยากรน้ำ มีดังนี้
1) การบำบัดน้ำเสีย น้ำจากภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม เป็นการฟื้นฟูคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบจากการเกิดน้ำเสีย
2) มีการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำให้เป็นระบบทั้งลุ่มน้ำ ปรับปรุงองค์กรในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำให้มีระบบ การประสานงานและการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพ
3) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแหล่งน้ำ ด้วยการงดทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำโสโครกลงในแหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
4) ยุติการรุกล้ำป่าชายเลน และฟื้นฟูบริเวณเสื่อมสภาพให้กลับมาดีเหมือนเดิม
1.3 การจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ย่อมส่งผลกระทบ ต่อทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย คือ ทำให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าลดลง ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเริ่มสูญพันธุ์ไป การจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า มีดังนี้
1)กำหนดพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
2)อนุรักษ์ความสมบูรณ์ของป่า
3)ออกกฎหมายกำหนดสัตว์หรือพืชป่าชนิดใดเป็นสิ่งหายาก ห้ามล่า จับ ทำลาย หรือซื้อขาย
1.4 การจัดการทรัพยากรแร่และพลังงาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มีการนำทรัพยากรแร่และพลังงานมาใช้เป็นจำนวนมาก โดยไม่มีการควบคุมและป้องกันอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ๆ ได้ การจัดการทรัพยากรแร่และพลังงาน มีดังนี้
1)การหมุนเวียนนำกลับมาใช้และนำกลับไปผลิตใหม่
2)ออกกฎระเบียบหรือกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้มีการผลิตและใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
3)การใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันที่กำลังจะหมดไป แหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแนวพระราชดำริให้ปรับปรุงบึงมักกะสันโดยใช้ผักตบชวาช่วยดูดซับสารพิษและสิ่งสกปรกในบึง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมในประเทศไทยมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จ-พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงพระราชทานพระราชดำริจัดตั้ง “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. การบริหารจัดการน้ำ
โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ช่วยลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งนอกจากจะช่วยจัดเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้เมื่อระบายสู่คลองจะช่วยบำบัดน้ำเสียให้เจือจางลง
2. การจัดการปัญหาน้ำเสีย
กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องกลเติมอากาศที่หมุนช้าแบบทุ่นลอยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงได้แนวคิดจากหลุกซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา ภูมิปัญญาของชาวบ้าน เพื่อนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ลดกลิ่นเหม็นของน้ำ และทำให้น้ำสะอาดขึ้น
3. การฟื้นฟูแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม
เนื่องจากปัญหาน้ำเน่าเสียและแหล่งน้ำเสื่อมโทรมบริเวณบึงมักกะสัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ปรับปรุงบึงมักกะสัน โดยใช้ผักตบชวาช่วยดูดซับสารพิษและสิ่งสกปรกในบึง โดยอาศัยระบบบำบัดที่เรียกว่า ระบบสายลมและแสงแดด ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติที่ใช้การทำงานของพืชน้ำ ได้แก่ สาหร่ายกับแบคทีเรีย และผักตบชวา ทำหน้าที่ดูดซับสิ่งโสโครกและ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ แต่ต้องควบคุมปริมาณพืชน้ำไม่ให้มีมากจนเกินไป เพราะจะบดบังแสงแดดที่ส่องลงมาในน้ำ
4. การบำบัดน้ำเสียด้วยบ่อบำบัดและวัชพืช
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ใช้รูปแบบของบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัดน้ำเสีย โดยการปลูกพืชหรือหญ้าในบ่อกักเก็บน้ำเสีย
5. การฟื้นฟูคลองที่มีปัญหาน้ำเสีย
โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียเป็นการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาหรือจากแหล่งน้ำภายนอก ไล่น้ำเสียตามคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยการปล่อยน้ำเข้าไปในคลองหลักและให้กระแสน้ำไหลไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้น้ำพัดพาสิ่งโสโครกออกไปและช่วยเจือจางน้ำเน่าเสีย ทำให้น้ำมีสภาพดีขึ้น
6. การฟื้นฟูสภาพป่าไม้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เสื่อมโทรมให้มีสภาพสมบูรณ์ โดยการปลูกป่า การควบคุมและป้องกันไฟป่า การสร้างฝายต้นน้ำ และจัดระบบชลประทานโดยการขุดคลองขนาดเล็ก เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่า ทำให้ป่าต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ และลดการเกิดไฟป่า
7. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมจากการบุกรุกของประชากร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณห้วยทรายให้กลับมาสมบูรณ์
8. การฟื้นฟูสภาพดินเปรี้ยว
เนื่องจากปัญหาสภาพดินเปรี้ยว ทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยมีเป้าหมายหลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี และมีสภาพเป็นดินเปรี้ยวให้กลายเป็นดินที่มีคุณภาพ สามารถทำการเพาะปลูกได้ผล โดยใช้วิธีการแกล้งดิน เริ่มจากการ “แกล้งดินให้เปรี้ยว” ด้วยการระบายน้ำที่ท่วมขังให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงและแก้ดินเปรี้ยวให้สามารถนำไปใช้เพาะปลูกได้ต่อไป
9 การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้สูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกจึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีการทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน เพราะรากของหญ้าแฝกหยั่งลงไปใต้ดินได้ลึก จึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำและดักตะกอนดิน ทำให้น้ำไหลซึมลงไปในดินได้มากชึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ