พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก

พุทธประวัติ

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐและเพียบพร้อมด้วยพระจริยาวัตรอันงดงาม พระองค์ทรงหมายพระทัยให้หลักธรรมที่สั่งสอนเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติ ความเมตตากรุณา ความรอบรู้และความบริสุทธิ์ของพระองค์ถือเป็นพระกรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ต่อชาวโลก ที่พุทธศาสนิกชนควรระลึกถึงและแสดงออกโดยการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติไว้

การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา เป็นการน้อมนำให้พุทธศาสนิกชนนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติต่อไป

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้รับยกย่องว่า ทรงเป็น “พระบรมครู” หรือ “ศาสนาเอก” ในโลก เพราะพระองค์ทรงมีวิธีการสอนที่ดีเยี่ยม ทำให้ผู้ฟังได้เข้าใจแจ่มแจ้ง ซึ่งมี คำกล่าวว่า ถ้าพระพุทธองค์ ทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมโปรดใคร เขาผู้นั้นย่อมได้บรรลุมรรคผลไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่ง

หลักการสอน

แจ่มแจ้ง - อธิบายเข้าใจแจ่มแจ้งดุจนำมาวางให้เห็นตรงหน้า

จูงใจ - พูดจูงใจให้อยากปฏิบัติตามที่สอน

หาญกล้า - ทำให้ผู้ฟังเกิดความกล้าหาญ มั่นใจที่จะปฏิบัติตาม

ร่าเริง - ให้ผู้ฟังเกิดฉันทะในการฟัง สนุกสนานไปกับการสอน

วิธีสอน

1.แบบบรรยาย ส่วนมากเป็นบรรยากาศที่มีผู้ฟังจำนวนมาก

2.แบบสนทนา ผู้ฟังมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น โดยพระพุทธองค์ทรงมีหน้าที่

ซักถาม โยนประเด็นคำถามให้ขบคิด แล้วทรงสรุปให้เข้าใจ

3.แบบตอบปัญหา แบ่งย่อยออกเป็น 4 อย่าง

-ตอบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม

-ย้อนถามก่อนแล้วค่อยตอบ

-แยกประเด็นตอบ

-แบบตัดประเด็นหรือไม่ตอบ

เทคนิควิธีสอน

1.ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม พระพุทธเจ้าทรงมีเทคนิควิธีโดยใช้อุปมาอุปไมย,

ยกนิทานประกอบ,ใช้สื่อการสอน

2.ทำตนให้เป็นแบบอย่าง โดยสาธิตให้ดูหรือทำให้ดู และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง

3.ทรงเลือกใช้คำให้เหมาะสม เช่นคำว่า พราหมณ์ ภิกษุ เทพ เป็นต้น พระองค์นำมา

ใช้สอนธรรม แต่ให้ความหมายใหม่ ทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจได้ง่าย

4.รู้จังหวะและโอกาส รอให้ผู้ฟังมีความพร้อมเสียก่อนแล้วค่อยสอน

5.ยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธี โดยการใช้วิธีนุ่มนวล บางครั้งก็เข้มงวด หรือบางครั้ง

ก็ผสมผสานระหว่างทั้งสองวิธี

6.เสริมแรง เป็นการเสริมแรงให้ผู้นั้นมีฉันทะในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นตามลำดับ

โดยการตรัสชมเชยพระสาวกของพระองค์บางรูปให้สงฆ์ฟัง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

พุทธจริยา หมายถึง พระจริยาวัตรหรือความประพฤติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น มี 3 ประการ

1. โลกัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ตัวอย่างเช่

พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 ประการ เพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ ตลอดจนพระชมม์ชีพของพระองค์ดังนี้

1.1 ปุเรภัตตกิจ พุทธกิจภาคเช้าหรือภาคก่อนอาหาร ทรงตื่นพระบรรทมแต่

เช้าเสด็จออกบิณฑบาตเสวยแล้ว ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนในที่นั้นๆ เสด็จกลับพระวิหาร รอให้พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี

1.2 ปัจฉาภัตตกิจ พุทธกิจภาคบ่ายหรือหลังอาหาร ระยะที่ ๑ เสด็จออกจาก

พระคันธกุฎี ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้ว พระสงฆ์แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ พระองค์เสด็จเข้าพระคันธกุฎี อาจทรงบรรทมเล็กน้อยแล้ว ระยะที่ ๒ ทรงพิจารณาตรวจดูความเป็นไปของชาวโลก ระยะที่ ๓ ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนในถิ่นนั้นที่มาประชุมกันในธรรมสภา

1.3 ปุริมยามกิจ พุทธกิจยามที่ ๑ (ของราตรี) หลังจากพุทธกิจภาคกลางวัน

แล้ว อาจทรงสนานแล้วปลีกพระองค์อยู่เงียบๆ พักหนึ่ง จากนั้นพระภิกษุสงฆ์มาเฝ้า ทูลถามปัญหาบ้าง ขอกรรมฐานบ้าง ให้ทรงแสดงธรรมบ้าง ทรงใช้เวลาตลอดยามแรกนี้สนองความประสงค์ของพระสงฆ์

1.4 มัชฌิมยามกิจ พุทธกิจในมัชฌิมยาม เมื่อพระสงฆ์แยกย้ายไปแล้วทรงใช้

เวลาที่สองตอบปัญหาพวกเทพทั้งหลายที่มาเฝ้า

1.5 ปัจฉิมยามกิจ พุทธกิจในปัจฉิมยาม ทรงแบ่งเป็น ๓ ระยะ ระยะแรก เสด็จ

ดำเนินจงกรมเพื่อให้พระวรกายได้ผ่อนคลาย ระยะที่ ๒ เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงพระบรรทมสีหไสยาสน์อย่างมีพระสติสัมปชัญญะ ระยะที่ ๓ เสด็จประทับนั่งพิจารณาสอดส่องเลือกสรรว่าในวันต่อไปจะมีบุคคลใดที่ควรเสด็จไปโปรดโดยเฉพาะเป็นพิเศษ เมื่อทรงกำหนดพระทัยแล้ว ก็จะเสด็จไปโปรดในภาคพุทธกิจที่ ๑ คือ ปุเรภัตตกิจ๓

2. ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ หรือโดย

ฐานะเป็นพระญาติ ตัวอย่างเช่น เสด็จไปโปรดพระญาติ ณ นครกบิลพัสดุ์ ทรงห้ามพระญาติฝ่ายศากยะและโลกิยะ ผู้วิวาทถึงกับจะรบกันด้วยเหตุแห่งการแย่งน้ำเข้านา จนเป็นที่มาของปางห้ามญาติ เป็นต้น

3. พุทธัตถจริยา ทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ตัวอย่า

เช่นทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่แยกชั้นวรรณะ ยากดีมีจน ทรงบัญญัติพระวินัยทรงก่อตั้งพระพุทธศาสนาและบริษัท 4 ให้ยั่งยืนสืบมา ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการยกย่องเป็นศาสดาเอกของโลก


ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

พระอนุรุทธะ

พระอนุรุทธะ ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะ เป็นโอรสของ

พระเจ้าสุกโกทนะเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระเชษฐาร่วมสายโลหิต คือ เจ้าชายมหานามะ ซึ่งต่อมาได้ครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านมีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคะ และเจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะ ชีวิตในเพศฆราวาสของท่านเต็มไปด้วยความอบอุ่นเนื่องจากพระมารดาทรงรักและดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

ตระกูลพระญาติทั้งหลาย นิยมให้บุตรหลานออกบวชตาม และเมื่อท่านถูกพระญาติถามถึงเหตุผลที่ไม่ออกบวช ท่านจึงได้ปรึกษากับเจ้าชายมหานามะว่าใครจะออกบวช และเมื่อได้ทราบว่า การที่ต้องเป็นผู้ครองเรือนและผู้ครองเรือนต้องเรียนรู้การงานทุกอย่าง เป็นต้นว่า ต้องทำนาทุกปีเพื่อจะได้มีข้าวไว้บริโภค การทำนาต้องเริ่มต้นด้วยการไถ ไถแล้วจึงคราด คราดแล้วจึงหว่านหรือปลูกข้าวกล้า ครั้นสุกแล้วต้องเก็บเกี่ยวและหอบเข้าลานเพื่อนวด เป็นต้น

เจ้าชายอนุรุทธะเมื่อได้ฟังการงานของผู้ครองเรือนยิ่งลำบาก จึงตัดสิน

พระทัยออกบวช ไปทูลขออนุญาตจากพระมารดา พระมารดาไม่ประสงค์จะให้ออกบวช จึงบ่ายเบี่ยงให้เจ้าชายอนุรุทธะไปชวนเจ้าชายภัททิยะ เมื่อเจ้าชายภัททิยะตกลงพระทัยที่จะออกบวช ทำให้เจ้าชายที่เป็นพระสหายที่เหลือก็ได้ตกลงพระทัยออกบวชตาม

เจ้าชายกลุ่มนี้ได้ออกเดินทางไปขอบวชโดยมีเจ้าชายภัททะยะเป็นผู้นำ ณ อนุ

ปิยอัมพวัน เมื่อบวชแล้ว พระอนุรุทธะได้เจริญสมาธิภาวนาได้ทิพจุกขุญาณ (ตาทิพย์) ภายหลังได้รับคำแนะนำจากพระสารีบุตรเกี่ยวกับมหาปุริสวิตก 8 ประการ ท่านได้เดินทางไปสู่ปาจีนวังทายวันปาจีนวังทายวัน แคว้นเจตี สามารถทำได้บริบูรณ์ 7 ข้อ ส่วนข้อสุดท้ายไม่สามารถทำได้ ได้รับคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า จึงเข้าใจและในที่สุดได้บรรลุอรหัตตผล

เมื่อบรรลุแล้ว ท่านได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยประกาศพระพุทธ

ศาสนา ท่านมีวัตรปฏิบัติที่น่าศึกษา คือ ความมักน้อย ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดเวฬุวัน ท่านแสวงหาผ้าบังสกุลตามกองขยะมาทำจีวร เนื่องจากจีวรที่ใช้อยู่ประจำนั้นขาด

พระอนุรุทธะได้อยู่ร่วมเหตุการณ์ดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ท่าน

เป็นผู้แจ้งเหล่ามัลลกษัตริย์ให้อัญเชิญพระศพของพระพุทธองค์เข้าเมืองทางประตูเมืองทิศอุดร (เหนือ) ผ่านกลางเมืองแล้วไปออกทางประตูเมืองด้านทิศบูรพา (ตะวันออก) ก่อนนำไปถวายพระเพลิง ณ มกูฏพันธนเจดีย์ พระอนุรุทธะนิพพานหลังพุทธปรินิพพานนานเท่าใด ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร พระอนุรุทธะ เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่น

ขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล

2. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนา เป็นสดมภ์หลักของ

พระพุทธศาสนารูปหนึ่ง

3. เป็นผู้มีความมักน้อย ถึงแม้ท่านจะเคยเป็นเจ้าชายในราชสกุลมาก่อน แต่

ท่านก็มิได้เย่อหยิ่งถือพระองค์แต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพยกย่องของผู้อื่นอยู่เสมอ


ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

พระองคุลิมาล

ท่านเกิดในวรรณะพรามหณ์ เมืองสาวัตถี บิดาชื่อภัคควะ เป็นปุโรหิตของพระ

เจ้าปเสนทิโกศล มารดาชื่อ มันตานี มีชื่อเดิมว่า อหิงสกะ มีความเป็นอยู่สุขสบาย เมื่อเจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์เมืองตักกสิลา ท่านตั้งใจศึกษาอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็รับใช้อาจารย์และภรรยาด้วยความเคารพจึงทำให้ท่านเป็นที่โปรดปรานมาก จนศิษย์คนอื่น ๆ พากันอิจฉาริษยาและใส่ร้ายท่านต่าง ๆ นานา โดยที่สุดกล่าวหาว่าท่านเป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์

ในที่สุดอาจารย์ก็หลงเชื่อจึงวางแผนฆ่าท่าน โดยบอกว่าศิษย์ที่ศึกษาจบศิลปวิทยา

นั้นต้องให้ครุทักษิณา (ของบูชาครู) แก่อาจารย์ กล่าวคือ นิ้วมือขวาของคน 1,000 นิ้วด้วยเชื่อว่าท่านจะต้องถูกฆ่าตายเสียก่อน อหิงสกะกุมารจึงออกล่านิ้วเมือคน และนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องไหล่ เป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า “องคุลิมาล” (ผู้มีนิ้วเป็นพวงมาลัย) ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงรับสั่งให้จัดกำลังทหารออกตามล่าท่าน

วันหนึ่ง โจรองคุลิมาลนับนิ้วมือยังขาดอีกนิ้วเดียวก็จะครบ 1,000 นิ้ว ตั้งใจ

ว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วก็จักกลับไปเยี่ยมบิดามารดา จึงออกจากกลางป่ามายืนดักอยู่มที่ปากทางเข้าป่า ฝ่ายนางมันตานีซึ่งเป็นมารดาของท่านทราบว่ากองทัพของพระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังมา จึงเดินมุ่งหน้าไปทางป่าที่โจรองคุลิมาลซ่อนอยู่ และวันนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงตรวจดูอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ ทรงเห็นอุปนิสัยของโจรองคุลิมาลจะสามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงรีบเสด็จไปโปรดทันเวลาที่นางมันตานีมาถึง

เมื่อโจรองคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้าก็วิ่งไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อประสงค์จะฆ่า

และตัดเอานิ้วมือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้โจรองคุลิมาลวิ่งตามไม่ทันจนรู้สึกเหนื่อยล้า แล้วหยุดยืนอยู่กับที่ร้องขึ้นว่า “หยุดก่อน สมณะ หยุดก่อน” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” พอพระพุทธเจ้าอธิบายให้ทราบว่า เราหยุดฆ่าสัตว์แล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด จึงพิจารณาตามและได้บรรลุโสดาปัตติผล ยอมทิ้งดาบก้มลงกราบพระบาทและทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ตามที่ทูลขอ ครั้นบวชแล้วเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตผลในเวลาต่อมา

ภายหลังบรรลุอรหัตผลแล้ว ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่นั้นเกิดปีติโสมนัส ท่านได้

แสดงความรู้สึกว่า “ผู้ใดประมาทมาก่อนแล้วเลิกประมาทเสียได้ภายหลัง ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก คือทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้”

ต่อมาท่านออกบิณฑบาต แต่กลับถูกขว้างปาด้วยก้อนดินและท่อนไม้จน

บาตรแตก ตัวท่านก็บาดเจ็บ จึงจำต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านให้อดทน และทรงสอนว่าท่านกำลังได้รับผลกรรมที่ทำไว้ ท่านจึงแผ่เมตตาจิตไปในสรรพสัตว์ ท่านได้รับสรรเสริญว่าเป็นพระเถระประเภท “ต้นคดปลายตรง” คือ เบื้องต้นประมาทพลาดพลั้ง แต่ต่อมากลับเนื้อกลับตัวเป็นพระสาวกที่ดี เป็นตัวอย่างของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างดี

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1.เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร พระองคุลิมาลตอนเป็นอหิงสกะกุมาร ได้เข้า

รับการศึกษาเล่าเรียนจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ท่านมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ตลอดถึงคอยรับใช้ใกล้ชิดอาจารย์และภรรยา จนเป็นที่รักและโปรดปรานของอาจารย์

2. เป็นผู้ไม่ประมาท หลังจากที่พระองคุลิมาลได้เข้าเฝ้าและฟังพระธรรม

เทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านกลับได้สติ จึงทูลขอบวชซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตบวชให้ นับว่าท่านเป็นคนประเภทต้นคดปลายตรง สมควรยึดถือเป็นเยี่ยงอย่าง

3. เป็นผู้มีความอดทน หลังจากท่านบวชแล้ว ประชาชนมักหวาดกลัวท่าน

บางครั้งถึงกับถูกเขาขว้างด้วยก้อนหิน ได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส แต่ท่านก็มีความอดทน บำเพ็ญสมณธรรมและได้บรรลุอรหันต์ในที่สุด


ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

พระธรรมทินนาเถรี

พระธรรมทินนาเถรีเป็นชาวเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นภริยาของ

ท่านวิสาขเศรษฐี ผู้สหายของพระเจ้าพิมพิสาร วิสาขเศรษฐีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกพร้อมกันกับพระเจ้าพิมพิสาร ได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่วันนั้น ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีได้รับฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอนาคามิผล ปกติพระอริยบุคคลระดับอนาคามีละความต้องการทางเพศได้แล้ว

วันนั้น นางธรรมทินนาไม่ทราบว่าสามีบรรลุอนาคามิผลแล้ว เมื่อเห็นสามี

กลับมาถึงบ้าน ยืนอยู่หัวบันไดก็ยื่นมือส่งให้หมายจะให้สามีเกาะ ปรากฏว่าสามีไม่เกาะและไม่พูดว่าอะไร สร้างความสงสัยให้แก่นางมาก เมื่อสามีรับประทานอาหารอิ่มแล้ว นางไม่สบายใจคิดว่าตนเองทำอะไรผิดสามีคงโกรธจึงสอบถามดู เมื่อท่านวิสาขเศรษฐีอธิบายให้ฟังถึงสาเหตุไม่แตะต้องกายเธอ และบอกว่านับแต่บัดนี้ไปเธอประสงค์ทรัพย์เท่าใด จงรับเอาไปตามใจชอบแล้วกลับไปครอบครัวเดิมเสียเถิด

นางธรรมทินนาจึงบอกสามีว่าถ้าเช่นนั้นฉันขออนุญาตไปบวชเป็นภิกษุณี

สามีก็อนุญาต และเพื่อเป็นเกียรติแก่ภรรยา วิสาขเศรษฐีจึงขอพระราชทานวอทองจากพระเจ้าพิมพิสารแห่นางรอบเมืองอย่างสมเกียรติ

เมื่อนางธรรมทินนาบวชแล้วก็ลาอุปัชฌาย์อาจารย์ไปปฏิบัติธรรมในป่าซึ่งอยู่

ต่างเมือง อีกไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้วก็กลับมาโปรดอดีตสามีและญาติมิตร จึงไปบิณฑบาตทางบ้านเดิมของตน วิสาขเศรษฐีอดีตสามีพบท่านจึงนิมนต์ไปฉันภัตตาหารพลางคิดว่า พระเถรีคงอยากจะสึกจึงลองถามปัญหากับพระเถรี พระเถรีตอบได้อย่างถูกต้องและแจ่มแจ้งจนหมดปัญญาที่จะถามต่อ จึงรู้แน่ว่าพระเถรีได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงมีความยินดียิ่งและกล่าวอนุโมทนา

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรีว่าเป็นยอดทางด้านธรรมกถึก มี

ปัญญาเฉลียวฉลาดแสดงธรรมได้อย่างแตกฉาน

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระธรรมทินนาเถรีก่อน

ออกบวชนั้น เมื่อได้ทราบว่าวิสาขเศรษฐีผู้สามีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้บรรลุธรรมแล้ว จึงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ใคร่จะออกบวช จึงขออนุญาตสามีซึ่งสามีก็อนุญาตให้บวชได้ตามความประสงค์

2. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที เมื่อพระเถรีได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็หวล

ระลึกนึกถึงวิสาขาเศรษฐีพร้อมด้วยหมู่ญาติ ก็ได้ เดินทางกลับบ้านเดิมเพื่อแสดงธรรมโปรดวิสาขเศรษฐีและหมู่ญาติได้ให้รับผลอันเกิดจากการฟังธรรม แสดงถึงความที่พระ เถรีมีความกตัญญูอย่างแท้จริง

3. เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถแสดงธรรมได้อย่างแตกฉาน ได้รับ

การยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะทางด้านธรรมกถึก จึงสมควรที่จะถือเป็นแบบอย่างที่ดี


ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

จิตตคหบดี


จิตคหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ วันที่ท่านเกิดมี

ปรากฏการณ์ประหลาด คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร แปลว่า กุมารผู้น่าพิศวงหรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม

บิดาของท่านเป็นเศรษฐีท่านจึงได้เป็นเศรษฐีสืบต่อมาจากบิดา ในวงการ

พระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี ก่อนที่จะมานับถือพระพุทธศาสนาท่านมีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ

วันหนึ่งได้แสดงเรื่อง อายตนะ 6 (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก 6 ประการ

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลักจบธรรมเทศนา จิตตคหบดีได้บรรลุ อนาคามิผล จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนือง ๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา

ท่านเป็นผู้มีใจบุญได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็

เคยมี เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง 500 เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ความเป็นผู้มีมีศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ของจิตตคหบดีได้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ดังเช่นคราวหนึ่ง ท่านป่วยหนึก พวกเทวดามาปรากฏต่อหน้าท่าน พร้อมกับบอกว่า คนมีศีลมีธรรมอย่างท่าน ถึงตายไปก็ย่อมไปดี แม้ปรารถนาจะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชาติหน้าก็ย่อมได้ จิตตคหบดีตอบว่า “แม้ราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ” บรรดาบุตรหลานที่เผ้าไข้อยู่ได้ยินจิตตคหบดีพูดอยู่คนเดียว จึงกล่าวเตือนว่า “ตั้งสติให้ดี อย่าเพ้อเลย” ท่านบอกบุตรหลานว่า มิได้เพ้อ เทวดามาบอกให้ปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรด์ แต่ท่านบอกพวกเขาไปว่าท่านไม่ต้องการ ยังมีสิ่งอื่นที่ประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอีก เมื่อบุตรหลานถามว่า สิ่งนั้นคืออะไร จิตตคหบดีตอบว่า “ศรัทธาความเชื่อที่ไม่คลอนแคลนในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ประเสริฐกว่าสิ่งใดทั้งหมด”

คุณธรรมที่ถือเอาเป็นแบบอย่าง

1. เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาธรรม จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น

อุบาสกผู้เก่งในการแสดงธรรมและการสั่งสอนธรรม ท่านเป็นคนฉลาดมีเหตุผลในการให้คำอธิบายหลักธรรมต่าง ๆ ที่เชื่อกันผิด ๆ ให้กลับเข้าใจในทางที่ถูกต้องได้

2. เป็นคนใจบุญ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยศรัทธามั่นคง พบพระสงฆ์ก็

ทำบุญถวายทาน สร้างวัดถวาย เป็นต้น

3. มีศรัทธาตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัย โดยมีศรัทธาความเชื่อที่ไม่คลอนแคลน

ในพระรัตนตรัย มากกว่าการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

4. เป็นแบบอย่างของอุบาสกที่ดี คือฟังธรรมตามโอกาส บรรยายธรรมตาม

โอกาส ปกป้องพระพุทธศาสนาเมื่อมีนักบวชในศาสนาอื่นจาบจ้วง และปกป้องด้วยสติปัญญา ความสามารถ โดยไม่กล่าวร้ายตอบโต้


ชาวพุทธตัวอย่าง

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระประวัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จ

พระเจ้าปราสาททองกับพระอัครเทวี พระองค์เจ้าศิริราชกัลยา ทรงพระราชสมภพ ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.. ๒๑๗๕ (จุลศักราช ๙๙๔) เมื่อยังทรงพระเยาว์มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้านรินทร์” ครั้นเจริญพระชันษาได้ ๑ เดือน สมเด็จพระราชบิดาตรัสให้มีการพระราชพิธีขึ้นพระอู่ก็มีเหตุมหัศจรรย์ คือในระหว่างพระราชพิธีนั้น ขณะที่พระราชกุมารบรรทมอยู่ในพระอู่ พระญาติวงศ์ฝ่ายในบังเอิญเห็นเป็น ๔ พระกรแล้วจึงกลับเป็นปรกติเป็น ๒ พระกร สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตรัสให้เอานิมิตรนั้นเปลี่ยนพระนามเสียใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร”

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์

ปราสาททอง ขณะมีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา เมื่อเวลาบ่าย ๒ โมง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีวอก อัฏศก จุลศักราช ๑๐๑๘ (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙)

กล่าวกันว่า ในรัชกาลของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญในด้านศิลปวิทยา

และการศึกษา ราษฎรเป็นสุขสมบูรณ์เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงมีปัญญาเฉลียวฉลาด บำรุงบ้านเมืองดี ทั้งทรงเป็นปราชญ์และกวี สิ่งสำคัญที่สุดคือการติดต่อกับต่างประเทศ

ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช การค้าขายกับต่างประเทศเจริญมาก จึง

เกิดขัดใจกันกับพวกฮอลันดา ซึ่งกำลังมีอำนาจอยู่ พระองค์ทรงหวั่นเกรงภัยจะมาจากฝรั่ง จึงให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรีและนนทบุรี และดัดแปลงเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง ฝ่ายพวกบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในกรุงศรีอยุธยา เห็นเป็นโอกาสดีก็เข้าอาสาช่วยในการก่อสร้าง และทูลไปยังพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศสให้ส่งทูตมาฝากฝังพวกตน ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงยินดี ที่จะผูกไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ซึ่งกำลังมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในยุโรป ฮอลันดากับอังกฤษมีความยำเกรงมาก ทั้งมีพระประสงค์จะให้ไทยได้รับความรู้จากฝรั่งเศสด้วย ตอนกลางของรัชสมัยของพระองค์ มีฝรั่งชาติกรีก ชื่อฟอลคอน เข้ามาทำราชการเป็นที่พอพระทัยมาก จนได้ตำแหน่งหน้าที่สำคัญและได้รับยศเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์

ให้ประเทศไทยนานัปการ บ้านเมืองในสมัยของพระองค์ได้รับการยกย่องจากประวัติศาสตร์ว่า ฟุ้งเฟื่องด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิตเกริกก้องกำจายด้วยศิลปวรรณคดีและยิ่งไปกว่านั้นในความสัมพันธ์กับต่างประเทศนับเป็นครั้งแรกที่รุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือที่สุด

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชย์ เสด็จสวรรคต ณ วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11

ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1050 ตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 เป็นปีที่ 32 ในรัชกาล พระชันษาสิริรวมได้ 56 พรรษา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระพุทธศาสนา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนอกจากจะทรงเป็นขัตติยกวีจำเพาะพระองค์เอง

แล้ว หากแต่ในรัชสมัยของพระองค์ก็ยังพรั่งพร้อมไปด้วยนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และพระมหาเถรานุเถระผู้แตกฉานในคัมภีร์พระไตรปิฎกและทรงวิทยาคุณ พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางพระธรรมและข้อวัตรปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ทรงวิสาสะกับพระเถรานุเถระทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เนืองๆ ดังจะเห็นได้จากพระราชปุจฉาหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์

ความหนักแน่นทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นได้

ชัดเมื่อมีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์มายังประเทศไทย บาทหลวงของศาสนาคริสต์ได้นำหลักคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลมาให้พระองค์ทรงศึกษา วันหนึ่งมีบาดหลวงถือไม้เท้ามีไม้กางเขนอันใหญ่เหมือนกับโป๊ปถือเข้าไปเฝ้าพระองค์ บอกกับพระองค์ว่า “ถึงเวลาแล้ว เพราะหว่าพระองค์ทรงรู้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ของพระเยซูคริสต์ดีแล้ว ควรจะรับศีลเป็นคาธอลิคเสียที” พระองค์ทรงตอบว่า “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์ของทานมีอยู่จริง มีอำนาจพิเศษจริง ๆ พระผู้เป็นเจ้าของท่านก็คงทราบว่าประเทศไทยนี่ เป็นเมืองนับถือพระพุทธศาสนา แล้วพระผู้เป็นเจ้าให้ข้าพเจ้ามาเกิดในประเทศไทยก็เท่ากับว่าให้มาเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนจิต เปลี่ยนมานับถือศาสนาคาทอลิคที่พวกท่านให้ข้าพเจ้านับถือ มันก็ขัดกับความต้องการของพระผู้เป็นเจ้า จะเป็นโทษเป็นบาป” (มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ, ม.ป.ป. :41-42)

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ธรรมะนำ

การเมืองไทย ในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคม ท่านสามารถนำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกได้อย่างสง่างาม จึงทรงรักษาไว้ได้ทั้งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2. ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จาก

พระองค์ทรงปฏิเสธการเข้ารีตศาสนาคริสต์


เนื้อหาเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ชาวพุทธตัวอย่าง

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

ประวัติและผลงาน ท่านพุทธทาสภิกขุ นามเดิม “เงื้อม” เป็นบุตรของ

นายเซี้ยง นางเคลื่อน พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี)

ปี พ.ศ. 2457 เด็กชายเงื้อม พานิช ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นแบบโบราณ

ด้วยการเป็น “เด็กวัด” ที่วัดพุมเรียง

ปี พ.ศ. 2460 เด็กชายเงื้อม ได้กลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่

โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยม

ปี พ.ศ. 2464 ย้ายมาเรียนมัธยมปีที่ 2 ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด

อำเภอไชยา

ปี พ.ศ. 2465 ออกจากการเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดาเนื่องจากบิด

ถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2469 บวชก่อนเข้าพรรษา เมื่อ 29 กรกฎาคม ได้ฉายา “อินฺทปญฺโญ”

ปี พ.ศ. 2471 สอบได้นักธรรมเอก

ปี พ.ศ. 2472 เป็นครูสอนนักธรรม ที่โรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา

ปี พ.ศ. 2473 เรียนบาลีที่วัดปทุมคง กรุงเทพฯ เขียนบทความชิ้นแรก ชื่อ

“ประโยชน์แห่งทาน” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุปัชฌาย์ และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค

ปี พ.ศ. 2475 เดินทางกลับพุมเรียง เข้าอยู่วัดร้างตระพังจิก

ปี พ.ศ. 2476 ออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนารายตรีมาส (3 เดือน)

ปี พ.ศ. 2486 ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกพลาราม บริเวณธารน้ำไหล เขา

พุทธทอง (สวนโมกขพลารามในปัจจุบัน)

ปี พ.ศ. 2536 มรณภาพ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม เวลา 11.20 นาฬิกา

ท่านพุทธทาสภิกขุ ศึกษาหลักธรรม จากพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ทั้งด้าน

พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ถือได้ว่าท่านเป็นนักปราชญ์ทางศาสนา

ท่านพุทธทาสภิกขุท่านบวชแล้วศึกษาค้นคว้าธรรมะ มองดูเหตุการณ์ต่าง ๆ

ในวงการพระศาสนา เห็นว่ายังมีความเชื่อไม่ถูกทาง ปฏิบัติไม่ถูกต้องอยู่หลายเรื่อง ท่านจึงใช้การเทศน์การสอน การสอนของท่านไม่ได้สอนเพื่อให้คนเข้าใจศาสนา สอนไปตามเรื่องตามราว ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่สอนให้คนเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในยามวิกฤติ เช่น ในยามเกิดสงคราม ในงานบ้านเมืองวุ่นวาย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านเป็นนักเขียนหนังสือธรรมะมากมาย เช่น ชุดธรรมโฆษณ์ มีทั้งหมด 40 เล่ม หนังสือธรรมะเล่มธรรมดาทั่วไปมีมากมาย นอกจากนั้นยังมีเทปธรรมะที่ท่านได้เทศนาสั่งสอนจนนับไม่ถ้วน

ปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุได้ตั้งปณิธานไว้ 3 ประการคือ

ประการที่ 1 ให้ทุกคนที่นับถือศาสนาของตนได้เข้าถึงธรรมะของศาสนาที่ตน

นับถือ

ประการที่ 2 ต้องการทำความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อไม่ให้เกิดการ

แตกแยกแตกร้าว

ประการที่ 3 มีความต้องการที่จะพรากจิตของชาวโลกให้ห่างจากวัตถุนิยม

ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม แปลว่า สวนเป็นกำลังแห่ง

ความหลุดพ้น เป็นสวนที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อปฏิบัติธรรมะให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป สวนโมกขพลารามไม่ใช่มีเพียงชาวพุทธที่เป็นคนไทยเท่านั้นที่ไปปฏิบัติธรรม ยังมีชาวต่างประเทศมากมากเข้ามาศึกษาธรรมะกับท่านด้วย ท่านปัญญานันทะเล่าประวัติของท่านไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับสวนโมกขพลารามว่า “เวลานี้ฝรั่งมาอยู่ที่สวนโมกข์มากมาย บางเดือนถึง 100 ทุกเดือนนี่ท่านต้องพูดกับฝรั่ง 10 วันตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 10 ทุกวันเวลาบ่าย” สวนโมกขพลารามของท่านจึงเป็น “สวนโมกข์นานาชาติ”

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. ท่านทรงเป็นแบบอย่างของพระภิกษุและชาวพุทธทุกคนในการศึกษา

ค้นคว้าหลักธรรมะให้เข้าใจอย่างแท้จริง จนสามารถเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องชัดเจน และสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้

2. ท่านทรงแต่งตำราทางพระพุทธศาสนาไว้มากมาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ

ผู้อ่านที่สามารถนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านเขียนไว้ไปประพฤติปฏิบัติได้

3. ท่านมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มวลมนุษย์ได้เข้าใจหลักธรรมะที่ตน

นับถือ (ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) ต้องการสร้างความปองดองกันในทุกศาสนา ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก และต้องการให้ทุกคนไม่หลงมัวเมาอยู่ในแต่ “วัตถุนิยม” แต่หันมาสนใจธรรมะ เข้าใจธรรมะ และปฏิบัติธรรมะ ในลักษณะ “ธรรมนิยม”

4. ท่านเป็นแบบอย่างของชาวพุทธในการเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องให้แก่ชาว

โลก ดังนั้นจึงมีผู้ให้ความสนใจที่จะเข้าไปศึกษาธรรมะกับท่านในสวนโมกขพลาราม ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ท่านได้ช่วยรื้อฟื้นธรรมะของพระพุทธเจ้า ปลุกชาวพุทธให้ตื่นตัว ให้ก้าวหน้า เพื่อทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา


ชาวพุทธตัวอย่าง

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

ประวัติและผลงาน พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) เดิมชื่อ ปั่น

นามสกุล เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 11 พฤษภาคม 2454 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ที่ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของ นายวัน นางคล้าย เสน่ห์เจริญ มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 2 คน และน้องสาว 1 คน

วัยเด็ก เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จากนั้นย้าย

ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง จนจบชั้น มัธยมปีที่ 3 ในสมัยนั้น แล้วไม่ได้ศึกษาต่อเพราะมีอุปสรรคทางบ้าน บิดาป่วย ต้องลาออกเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

วัยหนุ่ม ติดตามพระภิกษุผู้เป็นลุงไปประเทศมาเลเชีย แล้วกลับมาทำงาน

เหมืองแร่และสวนยางที่จังหวัดภูเก็ต พออายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอุปนันทาราม ตำบลเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง ได้เป็นครูใหญ่ในโรงเรียนประชาบาล ได้รับเงินเดือนๆ ละ 25 บาท และได้เรียนนักธรรม จนสอบได้นักธรรมตรี ได้ที่ 1 ของมณฑลภูเก็ต อายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดนางลาด ตำบลเขาเจียก อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยมี พระครูจรูญกรณีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ร่วมธุดงค์เผยแพร่พระพุทธศาสนา และได้ไป

จำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาส ต่อจากนั้น ท่านได้เข้ารับการศึกษาภาษาบาลีที่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

เมื่อปี พ.ศ. 2492 ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่

จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการปาฐกถาธรรม และได้ออกเทศน์ตามหมู่บ้านโดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงและเขียนบทความต่างๆ ลงหนังสือพิมพ์ชาวเหนือ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ นานถึง 11 พรรษา (พ.ศ. 2492-2502)

นอกจากนั้น ท่านยังได้เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังทวีปยุโรค และ

ร่วมประชุมกับขบวนการศีลธรรมโลก (M.R.A) ที่เมืองโคซ์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่ พระปัญญานันทมุนี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 และท่านได้รับอาราธนาจากกรมชลประทานให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชนันทมุนี”

ปี พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล “สังข์เงิน” เป็นเกียรติในฐานะพระภิกษุผู้เผยแพร่ธรรมะ

ยอดเยี่ยมประจำปี 2520 จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาครุศาสตร์)

จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2530 ได้รับถวายปริญญาสังคมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขา

ครุศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับพระราชาทานสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระเทพวิสุทธิเมธี”

ปี พ.ศ. 2532 ได้รับปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาครุศาสตร์)

จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

ปี พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมโกศาจารย์”

ปี พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 18 และเมื่อปี พ.ศ. 2541

ท่านได้ลาออกจากตำแหน่ง

ปัจจุบัน พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด

ชลประทานรังสฤษฎ์ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 9 ประธานมูลนิธิพุทธทาส ประทานมูลนิธิส่งเสริมแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง นอกจากนั้น ท่านยังได้แสดงปาฐกถาธรรมทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.30 – 10.30 น. ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ แสดงปาฐกถาธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 8.00 น. – 8.30 น.

ท่านยังได้แสดงปาฐกถาธรรมตามหน่วยราชการ สถานศึกษา สมาคม

บริษัทต่างๆ ตลอดจนเดินทางไปเผยแผ่ธรรมะและเยี่ยมเยือนให้กำลังใจแก่พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติศาสนกิจทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา จีน อิสราเอล อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

ท่านปัญญานันทะภิกขุเป็นพระญาติธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ จึงมี

บุคลิกลักษณะเช่นเดียวกับท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านจึงมีคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างเหมือนกันกับท่านพุทธทาสภิกขุ ดังนี้

1. ท่านทรงเป็นแบบอย่างของพระภิกษุและชาวพุทธทุกคนในการศึกษา

ค้นคว้าหลักธรรมะให้เข้าใจอย่างแท้จริง โดยเหตุผลเช่นเดียวกับท่านพุทธทาสภิกขุ

2.ท่านทรงแต่งตำราทางพระพุทธศาสนาไว้มากมายก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้

อ่านที่สามารถนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านเขียนไว้ไปประพฤติปฏิบัติได้

3. ท่านเป็นแบบอย่างของชาวพุทธในการเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องให้แก่ชาว

โลก โดยท่านได้เดินทางไปเผยแผ่ธรรมะในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ

ชาวพุทธตัวอย่าง

ดร. เอ็มเบดการ์ (Dr. Ambedkar)


ด.ร. อัมเบดการ์ หรือชื่อเต็มของท่าน คือ บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์(Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) เกิดในวรรณะศูทร ที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะจัณฑาล มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์ จัณฑาล อธิศูทร ในที่นี้จะใช้คำว่า อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล ก่อนที่ท่านอัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อเขา ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี(ผู้ถือสันโดษ ตามแนวคิดเรื่องอาศรม ๔ ของฮินดู) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มาพำนักในแถบละวกบ้านของเขา รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่ง ว่าหลวงลุงของตนมาพำนักอยู่ใกล้ๆ จึงไปนิมนต์ให้มารับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อเสียง เกียรติในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งพรนั้นก็มาสำเร็จสมปรารถนา เมื่อวันที่ท่านอัมเบดการ์เกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "พิม"

แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศุทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบประถม ๖ ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการรับจ้างแบกหาม ก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็กชายพิม จนกระทั่ง สามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้สำเร็จ แต่ในระหว่างการเรียนนั้น พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยีดหยามของทั้งครูอาจารย์ และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า

เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็นความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อเขาเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของเขา เขาไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน เขาต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบ นั่งเรียนอยุ่อย่างนั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของเขา

เวลาที่เขาถูกสั่งให้มาทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปิ่นโต ห่ออาหารที่ห่อมากินที่โรงเรียน วางไว้บนกระดานดำ จะเร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิม ขะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บนกระดานดำ

แม้แต่เวลาที่เขาจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ เขาก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท๊งค์น้ำ หรือแก้วที่วางอยุ่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของเขา จะไปติดที่แก้วน้ำ เขาต้องขอร้องเพื่อนๆ ที่พอมีความเมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้พิมคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากของพิม เพื่อป้องกันเสนียด ในความเป็นคน ต่างวรรณะของเขา ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก

อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่ง ซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหาร ของตนให้กับพิม แต่เขาก็แสดงออกมากไม่ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นามสกุลของเขา บ่งชัดความเป็นอธิศูทร คือนามสกุล \"สักปาล\"(นามสกุลของคนอินเดีย เป็นตัวบอกวรรณะด้วย) ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นามสกุลว่า \"อัมเบดการ์\" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา (จากนามสกุลอัมเบดการ์นี้เอง ทำให้หลายๆคนคิดว่าพิม เป็นคน ในวรรณะพราหมณ์ )

หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถุกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าเขาเป็นคนอธิศูทรแล้ว เขาก็ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ซึ่งนับว่าสุงมาก สำหรับคนวรรณะอย่างพิม แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของเขาก็ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีก จนจบปริญญาตรี เคราะห์ดีที่ ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่งเป็นมหาราชาผุ้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับอธิศูทร ได้มีนักสังคมสงเคราะห์พาพิม อัมเบดการ์ เข้าเฝ้ามหาราชา พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิม สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ ต่อมา มหาราชาแห่งบาโรดา ได้ทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศอเมริกา ซึ่งพิมได้รัลคัดเลือกด้วย เขาได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า อิสรภาพ และความเสมอภาค เพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจเขา ในความเป็นคนอธิศูทร เหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษา ถึงขั้นปริญญาเอกแล้ว เรียกว่ามีชื่อนำหน้าว่า ด.ร. พิม อัมเบดการ์ ได้เดินทางกลับมาอินเดีย เขาได้พยายามต่อสู้เพื่อคนในวรรณะเดียวกัน ไม่ใช่แต่เท่านั้น เขาพยายามต่อสู้กับความอยุติธรรมที่สังคมฮินดู ยัดเยียดให้กับคนในวรรณะต่ำกว่า

ด.ร. อัมเบดการ์ ได้ทำงานในหลายๆเรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว เขาได้เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม ในบอมเบย์ ในปี ๒๔๖๑ ต่อมาได้รับการ พระราชทานอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครักขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ในปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความอยุติธรรม ที่สังคมฮินดู กีดกันคนในวรรณะอื่นๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศุทร มารับราชการในเมืองโครักขปุร์ แม้นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทร เจ้าชายแห่งโครักขปุร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์ มุขนายก หรือ "ผู้นำคนใบ้" ของด.ร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่นๆ ซึ่งอัมเบดการ์ไม่ได้เป็นบรรณาธิการเอง แต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบความลงหนังสือพิมพ์ ในบทความครั้งหนึ่ง มีคำพูดที่คมคายน่าสนใจ ว่า

"อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น\" เขาได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์ มิใช่พราหมณ์ และอธิศูทร พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าเขากำลังเห็นพระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่

ด.ร. อัมเบดการ์มีผลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆอย่างในอินเดียขณะนั้น เขาเป็นอธิศูทรคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดีย ได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย เขาเป็นผู้ที่ชี้แจงต่อที่ประชุมในโลกสภา โดยการอนุมัติของด.ร.ราเชนทรประสาท ให้ชี้แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการ์ตอนนี้ว่า "ด.ร.อัมเบดการ์ ทำหน้าที่ชี้แจงอธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาข้อวินัยบัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนา ต่อพระสงฆ์ ๕๐๐ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น" และเขาเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทำลาย ความอยุติธรรม ที่คนในชาติเดียวกัน หยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น

การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ

ด.ร.อัมเบดการ์ แต่งงานมีครอบครัว สองครั้ง ครั้งแรกแต่งกับคนในวรรณะเดียวกัน ชื่อว่านางรามาไบ ครั้งที่สอง เขาได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย เขาได้แต่งงานครั้งที่สอง และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นเขา ได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือวรรณะพราหมณ์ เมื่ออายุเขาได้ ๕๖ ปี และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆมาร่วมงานแต่งงานของเขามากมาย ต่างจากครั้งแรก ที่เขาแต่งงานในตลาดสด

หลังจากนั้น ด.ร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง เขาถือว่าเขาไม่ได้พิศวาสตำแหน่งทางการเมืองอะไรนัก ที่เขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะเขาต้องการ ทำงานเพื่อเรียกร้องความถุกต้องให้กับคนที่อยุ่ในวรรณะต่ำ ที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น

เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ด.ร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งที่มีคุณูปการมากต่อพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย คือการเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เหตุการณ์ตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก จึงขอกล่าวถึงอย่างละเอียดสักหน่อย

ความจริง อัมเบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียนโดยท่านพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) เขาได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพแก่คนทุกชั้น ในจิตใจของด.ร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยุ่ก่อนแล้ว แต่เขาตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น สิ่งที่ปรารถนาก็คือ การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ พร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ใน งานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)

ท่านด.ร.อัมเบดการ์ ๆได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา เขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น "พุทธธรรม "(Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น

ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยุ่กับท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งท่านได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย เรียกว่า โลกสภา) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า

"พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่ และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใด ที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภุมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะไปฉลองวันสำคัญของใคร" และได้กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าไม่นับถือศาสนาใดๆในโลกทั้งนั้น แต่หากจะต้องเลือกนับถือแล้ว ข้าพเจ้าขอเลือกนับถือพระพุทธศาสนา"

ในงานฉลองพุทธชยันตินั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ปี เต็มๆ โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณต่างๆ เช่น ทำตัดถนนเข้าสุ่พุทธสังเวชนียสถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา ทำการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่าง จัดพิมพ์หนังสือสดุดี พระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น ประธานาธิบดีราธ กฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism\" (๒๕๐๐ ปีแห่งพระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คจฺฉามิ

ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนั้น ท่านอัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้ แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ๆ อย่างบอมเบย์ หรือเดลลี ท่านได้ให้เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรกๆ นอกจากพระสงฆ์ คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยัน กดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใส ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปทั่ว เมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่" (คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยุ่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนา เริ่มถูกทำลายจากอินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมือง ที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชาวศุทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มากอีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)

ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ ๕ แสนคน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙นั้น มีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ๓ รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสะเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และคำปฏิญญา ๒๒ ข้อ ของท่านอัมเบดการ์ ดังนี้

๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป

๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป

๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป

๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป

๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป

๗.ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า

๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป

๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน

๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน

๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน

๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก

๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น

๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม

๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด

๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา

๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ

๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง

๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง

๒๒. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"

คำปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ของด.ร.อัมเบดการ์นั้น เป็นการแสดงถึงความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเขา ต่อมาได้มีผู้พิมพ์คำปราศรัยนี้ลงเป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยที่ยาวถึง ๑๒๖ หน้า ขนาด ๘ หน้ายก มีตอนหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เช่น

"พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากตระกูลต่างๆกัน ย่อมมีความเสมอกันเมื่อมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้ว เหมือนมหาสมุทร ย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆ เมื่อมาสู่มหาสมุทรแล้วก้ไม่สามารถจะแยกได้ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด"

"พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และคนบางคนไม่มีเหตุผลจะโจมตีพระพุทธศาสนา หรือไม่มีเหตุผลมาหักล้างคำสอนของได้ ก็อ้างเอาอย่างหน้าด้านๆว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของพวกนอกวรรณะ"

"ถ้าหากจะมีพระนามใด ที่โจษขานกันนอกประเทศอินเดีย ที่โด่งดัง และกล่าวกันด้วยความเคารพสักการะแล้ว จะมิใช่พระนามของพระราม หรือพระกฤษณะ แต่จะเป็นพระนาม ของพระพุทธเจ้า เท่านั้น "

เมื่อนักหนังสือพิมพ์ถามถึงเหตุผลในการนับถือพระพุทธศาสนา เขากล่าวว่า "เพราะการกระทำอันป่าเถื่อนของชาวฮินดูที่มีต่อคนวรรณอธิศูทรเช่นเรามานานกว่า ๒๐๐๐ ปี" พร้อมกันนั้นท่านกล่าวต่อว่า "พอเราเกิดมาก็ถูกตราหน้าว่าเป็นวรรณะอธิศูทรซึ่งมีค่าต่ำกว่าสุนัข อะไรจะดีเท่ากับการผละออกจากลัทธิป่าเถื่อน ปลีกตัวออกจากมุมมืด มาหามุมสว่าง พุทธศาสนาได้อำนวยสุขให้ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า โดยไม่เลือกว่าเป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ความจริงข้าพเจ้าต้องการ เปลี่ยนศาสนาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่เหตุการณ์ยังไม่อำนวย ข้าพเจ้าขอกล่าวว่าระบบวรรณะควรจะสูญไปจากอินเดียเสียที แต่ตราบใดที่ยังนับถือพระเวทอยู่ ระบบนี้ก็ยังคงอยู่ กับอินเดียตลอดไป อินเดียก็จะได้รับความระทมทุกข์ ความเสื่อมโทรมตลอดไปเช่นกัน พวกพราหมณ์พากัน จงเกลียดจงชังพระพุทธศาสนา แต่หารู้ไม่ว่าพระสงฆ์ในพุทธกาล ๙๐ % เป็นคนมาจากวรรณะพราหมณ์ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกพราหมณ์ในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น กับพวกเขาหรือ\"

บั้นปลายชีวิต

เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ ๓ เดือน ท่านอัมเบดการ์ได้ถึงแก่กรรม ด้วยโรคร้าย ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ (ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา) สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไปถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรม ไปเสียก่อน เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ

เมื่อท่านอัมเบดการ์ถึงแก่กรรมนั้น มีหลายท่านแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อข่าวการมรณะกรรมของท่านแพร่ออกไป มีทั้งรัฐมนตรี นักการเมืองเดินทางมาเคารพศพ และแสดงความเสียใจแก่ภรรยาของท่านอัมเบดการ์ นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว\"

ในวันต่อมา นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัยด.ร.อัมเบดการ์ และสดุดีความดีของเขาอย่างมากมาย ตอนหนึ่งเขาได้กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นที่จำต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็นคนปลุกให้สังคม ของฮินดูได้ตื่นจากความหลับ" และได้ให้มีการหยุดประชุมสภา เพื่อไว้อาลัยแด่ ด.ร. อัมเบดการ์

หลังจากนั้น ได้มีคนสำคัญต่างๆ และผู้ทราบข่าวการมรณกรรมของด.ร.อัมเบดการ์มากมาย ได้ส่งโทรเลขไปแสดงความเสียใจต่อภรรยาของอัมเบดการ์ มุขมนตรีของบอมเบย์ คือนายชะวาน ถึงกับประกาศให้วันเกิดของอัมเบดการ์ เป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของท่านอัมเบดการ์

ภรรยาของเขาต้องการจะนำศพของท่านอัมเบดการ์ ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของอัมเบดการ์ ซึ่งมีหลายคนที่ไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าไว้ได้ ร้องไห้ไปตามๆกัน

ด.ร.อัมเบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ เขาได้จากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้สรรเสริญ ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่า วิญญาณของอัมเบดการ์คงยังไม่ไปไหน จะคงอยู่กับพวกเขา คอยช่วยพวกเขา เพราะอัมเบดการ์ไม่เคยทิ้งคนจน ไม่เคยลืมคนยาก ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ต่อท้ายจากบทสวดสังฆรัตนะ พวกเขาจึงอ้างเอาด.ร.อัมเบดการ์เป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า พิมพัง(ขื่อเดิมของอัมเบดการ์) สรณัง คัจฉามิ อยู่จนทุกวันนี้.

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

  • มีความมุมานะพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แม้จะประสบความลำบาก ความเดือดร้อนมากเพียงใด ก็ก้มหน้ามุมานะต่อไปโดยไม่หยุดยั้งจนกระทั่งจบปริญญาเอก นี่คือความสำเร็จของเด็กยากจนที่เกิดในวรรณะศูทรที่ได้มาด้วยความมานะพยายาม

  • มีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อครั้งศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย ดร.เอ็มเบดการ์ ได้เผชิญกับปัญหาต่างๆถูกข่มเหงจากนักศึกษาต่างวรรณะ บางคนได้ข่มเหงรังแก ทุบตีอย่างทารุณ แต่ท่านก็ได้กัดฟันต่อสู้ต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยความอดทน และได้นำเหตุการณ์เหล่านั้นมาเป็นกำลังใจให้มีความมุมานะในการศึกษาเล่าเรียนยิ่งขึ้น

  • มีสติปัญญาดี จนสามารถเรียนจนจบปริญญาเอก

  • ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ดร.เอ็มเบดการ์ ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักในการปฏิวัติระบบชนชั้นวรรณะของสังคมอินเดีย ดังที่ท่านประกาศไว้ตอนหนึ่งว่า "ระบบวรรณะนั้นเป็นความบกพร่อง ใครเกิดมาในวรรณะเลวก๊ต้องเลวอยู่ชั่วชาติ จะทำอย่างไรก็ไม่มีทางดีขึ้นมาได้ ข้อนี้จึงเป็นเรื่องฟังไม่ขึ้นอีกจ่อไป...กฏแห่งกรรมของพระพุทธเจ้าไม่มีใครลบล้างได้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญความเพียร ชัยชนะของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความเพียร ยาจกก็สามารถยกตนขึ้นเป็นมหาเศรษฐีได้ เพราะความเพียร ด้วยที่ท่านมีนำ้ใจที่หนักแน่น มีอุดมคติสูง กล้าหาญ เสียสละ จึงได้รับสมญานามว่า มนุษย์กระดูกเหล็ก ฝีปากกล้า และอภิชาตบุตรของชาวหริจันทร์(ชาวศูทร)


ที่มา: https://www.oocities.org/watdonta_y/mbedkar.htm

ชาดก

ชาดก

ชาดก คือ เรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฏก โดยแสดงเกี่ยว

กับชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติปางก่อน (เรียกว่า พระโพธิสัตว์) ซึ่งต้องสะสมปัญญาบารมีในด้านต่างๆ เช่น ความมีเมตตา ความเพียร ฯลฯ ก่อนที่จะส่งผลให้ทรงเสวยชาติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

โหสธชาดก


มโหสถชาดก มโหสถ เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในทศชาติ มีเรื่องราวโดยย่อดังนี้

กาล ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในพระราชสำนักของพระเจ้าวิเทหะ เมืองมิถิลา มีราชบัณฑิตอยู่ ๔ คน คือ เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และ เทวินทะ มีบ้านอยู่ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ คราวนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐีและนางสุมนาเทวี ในหมู่บ้านอันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในวันถือปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น พระราชาทรงสุบินว่า ที่มุมสนามหลวง ๔ มุมมีกองเพลิงใหญ่เท่ากำแพงเมือง ๔ กอง ในท่ามกลางมีกองไฟเท่าหิ่งห้อย ๑ กอง แต่กลับส่องสว่างไสวมากกว่ากองเพลิงทั้ง ๔ กองนั้นโหรหลวงจำทำนายว่าจักมีบัณฑิตคนสำคัญมาเกิดในเมืองนี้มโหสถกุมารได้ แสดงความเป็นบัณฑิตตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบเท่านั้น มีความสามารถออกแบบสร้างศาลาและให้ประดับตกแต่งศาลาพร้อมกับปลูกไม้ดอกไม้ ประดับได้ และได้แสดงความอัจฉริยะทางสติปัญญาหลายประการ ได้แก่ แสดงวิธีชิงเอาชิ้นเนื้อจากปากเหยี่ยวที่บินอยู่บนท้องฟ้าได้ ได้ตัดสินคดีเรื่องการแย่งเป็นเจ้าของวัว ได้ตัดสินคดีว่าด้วยเรื่องการแย่งกันเป็นเจ้าของสร้อยประดับ เป็นต้น ตลอดจนถึงได้แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พระราชาได้ทดสอบปัญญาของท่านด้วยวิธีการต่างๆ จนเป็นที่พอพระทัยของพระราชา

เมื่อพระราชาทดสอบปัญญาของมโหสถหลาย ครั้งจนเป็นที่พอพระทัยแล้ว จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า และทรงรับมโหสธเข้ารับราชการ อยู่มาวันหนึ่ง ท่านได้ใช้ปัญญาแก้ไขปริศนาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และเมื่อมโหสถอายุได้ ๑๖ ปี ก็ได้แต่งงานกับธิดาตระกูลเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า อมราเทวี ซึ่งนางก็มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รักษาศีล ๕ ได้บริสุทธิ์ เช่นเดียวกัน

การแสดงเหตุผลของมโหสถบัณฑิตทุก ครั้ง เป็นที่ตะขิดตะขวงใจของราชบัณฑิตทั้ง ๔ ท่านอยู่ไม่น้อย บางครั้งก็มีการหักหน้า ลบล้างข้อคิดเห็นของราชบัณฑิต ทำให้ราชบัณฑิตทั้ง ๔ พยายามหาเรื่องใส่ความท่าน แต่ท่านก็สามารถแก้ปัญหาด้วยปัญญาของท่านเองได้ทุกครั้ง

ในเรื่องการวางแผนด้านยุทธศาสตร์ นั้น มโหสถบัณฑิตมีความสามารถเช่นเดียวกัน ดังเช่นเมื่อครั้งพระเจ้าจุลนีพรมทัตแห่งเมืองอุตรปัญจาละคิดการใหญ่ตามคำ กราบทูลของเกวัฏปุโรหิต เพื่อจะยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ มาเป็นเมืองขึ้น รวมทั้งเมืองมิถิลาด้วย พระองค์ได้ทรงปราบปรามมีชัยชนะเหนือพระราชาในแคว้นใกล้เคียงโดยรอบ ยึดครองได้ถึง ๑๐๑ แคว้น และได้ยกทัพพร้อมด้วยกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์มาล้อมเมืองมิถิลาไว้ แต่ด้วยการวางแผนการรบก่อนอย่างรอบคอบหลายชั้นของมโหสถบัณฑิต เริ่มตั้งแต่การส่งสายลับไปอยู่กับศัตรู เพื่อทราบความเคลื่อนไหวจนถึงการใช้กุสโลบายต่างๆ เพื่อให้ข้าศึกไม่อาจตีเมืองมิถิลาได้ แถมยังถูกทหารของเมืองมิถิลาตีแตกกระเจิง จนทำให้กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์พร้อมนักรบเสียขวัญหนีเอาตัวรอด และด้วยความสามารถเชิงการฑูตที่ยอดเยี่ยมยังทำให้พระเจ้าวิเทหะกับพระเจ้า จุลนีพรมทัตมาผูกไมตรีกันได้

เมื่อพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยอมยกพระ ธิดาของพระองค์ให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าวิเทหะ ตามแผนการของมโหสถบัณฑิต ต่อมาเมื่อพระเจ้าวิเทหะสวรรคต พระโอรสของพระองค์ได้ครองราชสมบัติแทน พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงมีพระประสงค์ให้เมืองของพระองค์มีบัณฑิตอย่างมโหสธ บ้าง จึงขอให้มโหสถบัณฑิตมาอยู่ที่เมืองของพระองค์มโหสถบัณฑิตจึงกราบทูลลาพระ เจ้ากรุงมิถิลาไปรับตำแหน่งปุโรหิตในราชสำนักของพระเจ้าจุลนีพรมทัตและอยู่ ด้วยความผาสุกจนสิ้นอายุขัย

มโหสถชาดก มีสาระสำคัญพอจะสรุปได้ดังนี้

มโหสถ มีชาติกำเนิดเป็นบุตรของเศรษฐีชื่อ สิริวัฒกะ และนางสุมนาเทวี แห่งเมืองมิถิลา เหตุที่ใช้ชื่อว่า "มโหสถ" เพราะเมื่อแรกคลอดมือทารกน้อยถือแท่งยาวิเศษของพระอินทร์ติดตัวมา ซึ่งต่อมาได้นำมารักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ได้ผลอย่างน่าอัศจรรย์

ความสามารถของมโหสถ ได้แสดงสติปัญญาอันเฉียบแหลมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยหนุ่ม ได้ช่วยแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทให้เพื่อนบ้านด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาด รวมทั้งถูกพระราชาทดสอบการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมโหสถสามารถทำได้ด้วยดี สรุปได้ดังนี้


สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง

โดย ระดมทุนจากเด็กๆ ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้มโหสถเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองจนสำเร็จ

ตัดสินข้อพิพาทแย่งชิงวัว

มี ชายสองคนอ้าวความเป็นเจ้าของวัวตัวเดียวกัน และขอให้มโหสถช่วยตัดสิน มโหสถสอบถามถึงเรื่องอาหารที่ให้วัวกิน เจ้าของตัวจริงบอกว่าให้กินหญ้า เจ้าของตัวปลอมบอกว่าให้กินแป้ง งา และขนม เมื่อมโหสถได้ให้วัวกินยาขับจนอาเจียนออกมาเป็นหญ้า ทำให้ตัดสินได้ว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริง โดยได้สอนให้คนโกงนับถือศีล ๕ อีกด้วย

ตัดสิน กรณีแย่งชิงบุตร

มีหญิงสองคนแย่งชิงเด็กน้อยผู้หญิง โดยต่างอ้างความเป็นมารดาของเด็ก มโหสถใช้วิธีพิสูจน์โดยให้หญิงทั้งสองใช้กำลังแย่งชิงเด็ก ทำให้เด็กน้อยร้องไห้ด้วยความตกใจและเจ็บปวด มารดาตัวจริงจึงยอมปล่อย และทรุดตัวร้องไห้เพราะความสงสารลูก มโหสถจึงตัดสินว่า หญิงที่ใจอ่อนปล่อยมือทารกเป็นมารดาของเด็กที่แท้จริง ใช้ปัญญาแก้ปัญหา ให้พระราชาชื่นชมในความสามารถ

พระเจ้าวิเทหะกษัตริย์ แห่งเมืองมิถิลา ได้ทรงทดสอบภูมิปัญญาของมโหสถหลายครั้ง เช่น ได้พิสูจน์ว่าไม้ตะเคียนข้างใดเป็นโคน ข้างใดเป็นปลาย มโหสถได้หย่อนไม้ตะเคียนลงในน้ำ ข้างโคนมีน้ำหนักจะจมก่อนมโหสถได้รับแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตประจำ ราชสำนักได้แสดงสติปัญญาแก้ไขปัญหาในงานบริหารราชการ แผ่นดินของพระเจ้าวิเทหะด้วยดีตลอดมา ได้ใช้ปัญญาแก้ไขสถานการณ์คับขัน ช่วยป้องกันบ้านเมืองจากการคุกคามของกองทัพข้าศึกศัตรูหลายครั้ง ทำให้มโหสถเป็นที่โปรดปรานของพระราชายิ่งนัก

ชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ ว่า ผู้มีปัญญาเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม ย่อมตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของปวงชนเป็นสำคัญ

ประโยชน์ที่ได้ รับจากการศึกษาเรื่องมโหสถชาดก คือ

๑. ผู้มีปัญญาและถึงพร้อมด้วยคุณธรรม ความดีย่อมได้รับการยอมรับจากมหาชน และทำให้ตนเองมีความสุข ความเจริญในการดำเนินชีวิต

๒. คุณธรรมของผู้มีเมตตา คือ มีความเมตตา และปรารถนาดีต่อผู้อื่น มิเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน และคิดจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้มีปัญญาเพรียบพร้อมดัวยคุณธรรม ย่อมตกน้ไม่ไหลตกไฟไม่ได้ คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของปวงชนเป็นสำคัญ

เนื้อหาเพิ่มเติม คลิกที่นี่